ปรัชญาศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาปรัชญาศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คัมภีร์ที่สำคัญใน 3 สมัย คือ สมัยพระเวท คัมภีร์ที่สำคัญ คือ ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท อถรรพเวท พราหมณะ อารัณยกะ และอุปนิษัท สมัยอิติหาสะ มีคัมภีร์ 2 คัมภีร์ คือ รามายณะและมหาภารตะ สมัยปุราณะ มีความสำคัญที่สุดสำหรับศาสนาฮินดู ซึ่งคัมภีร์ปุรณะแบ่งเป็นมหาปุราณะและอุปปุราณะ มหาปุราณะมีทั้งหมด 18 คัมภีร์ คือ วิษณุปุราณ ศิวปุราณ มัตสยปุราณ ภาควตปุราณ ครุฑปุราณ สกันทปุราณ พรหมาณฑปุราณ พรหมไววรตปุราณ ภวิษยปุราณ มารกัณเฑยปุราณ อัคนิปุราณ วายุปุราณ ปัทมปุราณ กูรมปุราณ พรหมปุราณ ลิงคปุราณ วราหปุราณ และวามนปุราณ ระบบปรัชญาของพราหมณ์-ฮินดู พบว่ามี 6 ประการ อันเป็นลักษณะประจำของศาสนาฮินดู แม้ว่าสำนักทั้ง 6 นี้จะมีต้น กำเนิดและจุดประสงค์ที่แตกต่างกันแต่ก็ได้ถูกรวมไว้ในระบบเดียวกันโดย ถือว่าเป็นทางบรรลุการหลุดพ้นหรือมุกติได้เหมือนกันหมด ทรรศนะทั้ง 6 แบ่งออกเป็นกลุ่มกลุ่มละ 2 ได้แก่ นยายะ ไวเศษิกะ สางขยะ โยคะ และ มีมางสา เวทานตะ