การบริหารจัดการท่องเที่ยวยุคใหม่ของกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการท่องเที่ยวยุคใหม่ของกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาของการบริหารจัดการท่องเที่ยวยุคใหม่ของกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาหาแนวทางในการบริหารจัดการท่องเที่ยวยุคใหม่ของกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นประชาชนในเขตลาดพร้าวกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วนำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์
ผลการวิจัยพบว่า
สภาพปัญหาการบริหารจัดการท่องเที่ยวยุคใหม่ของกรุงเทพมหานคร ตัวแปรต้น โดยรวมทุกด้าน พบว่า อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.05 S.D.=0.96) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านวิธีปฏิบัติงาน อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.21 S.D.=1.07) ด้านการวางแผน อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.17 S.D.=1.01) ด้านการดำเนินงาน อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.04 S.D.=0.90) ด้านความรวดเร็ว อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =2.98 S.D.=0.93) และด้านการแก้ไขปัญหา อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =2.86 S.D.=0.91) ตามลำดับ
แนวทางในการบริหารจัดการท่องเที่ยวยุคใหม่ของกรุงเทพมหานคร ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.15 S.D.=0.91) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความต้องการ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.26 S.D.=0.96) ด้านการบริหาร อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.14 S.D.=0.83) และด้านความพึงพอใจ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.06 S.D.=0.94) ตามลำดับ
ค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการท่องเที่ยวยุคใหม่ของกรุงเทพมหานคร โดยรวมทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านวิธีปฏิบัติงาน X4 ด้านการแก้ไขปัญหา X5 ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ 0.521 และ -0.336 ตามลำดับ