บูรณาการคุณค่าของศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อ การดำเนินชีวิตของคนไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของคนไทย 2) เพื่อศึกษาคุณค่าของศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อบูรณาการคุณค่าของศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อการดำเนินชีวิตของคนไทย 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับบูรณาการคุณค่าของศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อการดำเนินชีวิตของคนไทย งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสารโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า
- การดำเนินชีวิตของคนไทย ประเทศไทยมีการพัฒนาไปตามลำดับกระแสโลก มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นทำให้คนในสังคมมีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตมากขึ้น วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยมี 5 ด้านคือ 1) ด้านเศรษฐกิจ 2) ด้านการเมืองการปกครอง 3) ด้านศาสนาและสังคม 4) ด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณี และ 5) ด้านดนตรีนาฏศิลป์ การดำเนินชีวิตของคนไทยอยู่บนพื้นฐานคำสอนของพระพุทธศาสนาทำให้คนในสังคมไทยรักความสงบร่มเย็น ครอบครัวอบอุ่นมีความสุขอยู่กินอย่างพอเพียง
- คุณค่าของศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทนั้นคือหลักศรัทธา 4 ได้แก่ 1) กัมมสัทธา 2) วิปากสัทธา 3) กัมมัสสกตาสัทธา 4) ตถาคตโพธิสัทธา การที่คนในสังคมมีศรัทธาความเชื่อที่แน่วแน่ไม่หวั่นไหวนั้นเป็นพลังทำให้เกิดคุณค่าของศรัทธาขึ้นได้แก่ 1) ความมั่นคง 2) เสรีภาพความยุติธรรม 3) ความกล้าหาญ 4) การสงเคราะห์ 5) ความสามัคคี 6) ความคิดสร้างสรรค์ 7) ความสงบสุข
- บูรณาการคุณค่าของศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อการดำเนินชีวิตของคนไทย ได้บูรณาการ ดังนี้ 1) ความมั่นคงกับด้านเศรษฐกิจ 2) เสรีภาพความยุติธรรมและความสามัคคีกับด้านการเมืองการปกครอง 3) การสงเคราะห์และความสงบสุขกับด้านศาสนาและสังคม 4) ความกล้าหาญกับด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณี 5) ความคิดสร้างสรรค์กับด้านดนตรีนาฏศิลป์ ผลจากการบูรณาการพบว่าคุณค่าของศรัทธาสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาต่างๆ ได้และยังส่งผลให้การดำเนินชีวิตของคนในสังคมไทยนั้นมีความสามัคคีปรองดองกัน สังคมไทยอยู่เย็นเป็นสุขสงบร่มเย็นมีสันติสุขไม่เบียดเบียนกัน
- องค์ความรู้เกี่ยวกับการบูรณาการคุณค่าของศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อการดำเนินชีวิตของคนไทย คือ “VLHP Model”
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิจัย