ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่มาติดต่อ ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่มาติดต่อที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ (2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่มาติดต่อที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มาติดต่อที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2566 จำนวน 288 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาวิจัย สรุปได้ดังนี้ ประชาชนมีระดับความคิดเห็นโดยรวมทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 3.54 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พิจารณาได้ ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านการมีงานทำ = 3.62 รองลงมา ได้แก่ ด้านการศึกษา = 3.53 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านสาธารณะสุข = 3.46 ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่มาติดต่อที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อพิจารณาโดยเรียงจากค่าความถี่จากมากไปหาน้อย พิจารณาได้ ดังนี้ ข้อที่มีค่าความถี่สูงสุด ได้แก่ ไม่มีข้อเสนอแนะ มีค่าคามถี่ 272 คิดเป็นร้อยละ 94.44 ส่วนข้อที่มีค่าความถี่น้อยที่สุด ได้แก่ อยากให้หน่วยงานรัฐเข้ามาดูแลสถานศึกษาอย่างเคร่งครัดเนื่องจากมีข่าวสารเกี่ยวกับสถานศึกษามากในปัจจุบัน เพื่อได้หาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นแก่บุตรหลานในพื้นที่ อยากให้หน่วยงานรัฐมีการช่วยเหลือเด็กที่มีฐานะครอบครัวยากจนและไม่มีทุนในการศึกษาให้ได้มีการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน และอยากให้มีการระดมความคิดเห็นจากชาวบ้านในการสร้างอาชีพว่าต้องการอะไร เพราะประชาชนเป็นกลุ่มคนที่รู้จักทรัพยากรชุมชนอย่างดีที่สุด มีค่าความถี่ 1 คิดเป็นร้อยละ 0.34 ตามลำดับ