แนวธรรมปฏิบัติของพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) ที่มีผลต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

Main Article Content

แม่ชีอโณทัย แววเสียงสังข์
รศ.ดร.สุวิญ รักสัตย์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวธรรมปฏิบัติของพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) ที่มีผลต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาชีวิตและผลงานของพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) 2) เพื่อศึกษาแนวธรรมปฏิบัติของพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) 3) เพื่อนำเสนอคุณค่าแนวธรรมปฏิบัติของพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) ที่มีผลต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยคุณภาพเชิงเอกสาร เก็บข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In- depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 รูป/คน


  ผลการวิจัยพบว่า พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) มีนามเดิมว่า “ชาลี” เป็นคนจังหวัดอุบลราชธานี เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2499 เข้าบรรพชาอุปสมบทในคณะธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 โดยมีพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู ฐิตปญฺโญ) วัดปทุมวนารามราชวรวิหารเป็นพระอุปัชฌาย์และมีพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านพ่อลีเป็นพระปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน อยู่ถือธุดงควัตรอย่างเคร่งครัดและจาริกไปเพื่อฝึกฝนตนเอง สอนธรรมด้วยแนวปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนาและสร้างถาวรวัดและสาธารณะประโยชน์แก่สังคม แนวธรรมปฏิบัติของท่านพ่อลีแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการปฏิบัติกรรมฐานโดยใช้แนวภาวนา “พุทโธ” ประคองอารมณ์อยู่ตลอดเวลาตามหลักอานาปานสติเป็นหลัก 2. ด้านแนวการสอนธรรมปฏิบัติโดยการปฏิบัติธุดงควัตร ปลีกวิเวกและสอนให้เนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท 3. ด้านแนวการเผยแผ่ธรรมปฏิบัติโดยมุ่งหมายเพื่อผู้ฟังเกิดความสุขและช่วยเหลือสังคม 4. ด้านการบริหารปกครองโดยปกครองดูแลพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกาให้ยึดพระธรรมวินัยและข้อกำหนดของกฎมหาเถรสมาคมเป็นสำคัญ คุณค่าแนวธรรมปฏิบัติของท่านพ่อลีด้านกรรมฐานย่อมเกิดเป็นแนวทางอบรมจิตตามแนวสติปัฏฐาน 4 ที่ใช้ธุดงควัตรเป็นเครื่องมือฝึกฝนตนเองจนสามารถทำให้จิตใจมีความเข้มแข็งและผ่องใสบริสุทธิ์ ด้านการเผยแผ่ย่อมเกิดความรู้ความเข้าใจพระพุทธศาสนาจากการปฏิบัติจริงจัง ด้านการปกครองย่อมเกิดสายธรรมปฏิบัติที่สืบทอดต่อกันตามแบบสายพระป่า และด้านสาธารณูปการย่อมเกิดเป็นวัดที่และสถานปฏิบัติธรรมที่เอื้อต่อการปฏิบัติและเป็นประโยชน์แก่ทุกคน

Article Details

บท
บทความวิจัย