การประเมินผลนโยบายของกระทรวงการคลังในโครงการ “คนละครึ่ง” ที่มีต่อความพึงพอใจของประชาชน : กรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล

Main Article Content

เปรมณัช โภชนสมบูรณ์

บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มุ่งศึกษาข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการประเมินผลนโยบายในโครงการคนละครึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ของงานวิจัย 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายของกระทรวงการคลังในโครงการ “คนละครึ่ง” 2) เพื่อประเมินผลนโยบายของกระทรวงการคลัง ด้านผลสัมฤทธิ์ ในโครงการ “คนละครึ่ง”  และ3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคของโครงการ “คนละครึ่ง” ของภาครัฐ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนและร้านค้ารายย่อยต่างๆ ต่างพึงพอใจต่อโครงการ “คนละครึ่ง” เพราะประชาชนได้ราคาสินค้าที่ถูกลงและร้านค้าก็ได้กำไรมากขึ้น 2) โครงการคนละครึ่งเป็นโครงการที่ดี สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยใช้การบริหารงานแบบหลักการ 3M (Man Money Meterial) 3) โครงการคนละครึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องมาถึง 4 ระยะ แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการดังกล่าว 4) โครงการคนละครึ่งเป็นโครงการที่เกิดขึ้นช่วง Covid-19 และเป็นโครงการที่ตอบสนองต่อประชาชนได้เป็นอย่างดี 5) ปัญหาอุปสรรคที่พบเรื่องความไม่เท่าเทียมประชาชนที่ได้สิทธิ์ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ใช้เครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย สำหรับกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยและไม่มีเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ์ในโครงการดังกล่าว เกิดเป็นประเด็นความไม่เท่าเทียมในสังคม และสิ่งที่สะท้อนกลับมาของร้านค้ารายย่อยต่าง ๆ ที่ใช้สิทธิ์โครงการคนละครึ่งมีความไม่พึงพอใจต่อการเก็บภาษีย้อนหลังของรัฐบาล

Article Details

บท
บทความวิจัย