การศึกษาการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์ของคนแต่ละช่วงอายุ

Main Article Content

กรกมล จึงสำราญ
สิริกานต์ แก้วคงทอง
เฉลิมพร ปัญจาสุธารส
ชลิพา ดุลยากร

บทคัดย่อ

การศึกษาการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์ของคนแต่ละช่วงอายุเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) จากกลุ่มตัวอย่างในแต่ละช่วงอายุ ได้แก่ กลุ่ม Generation B (Gen B) กลุ่ม Gen X กลุ่ม Gen Y และกลุ่ม Gen Z รวมทั้งสิ้น 758 คน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพด้านการศึกษา จำนวน 631 คน และกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพอื่น จำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์ของคนในแต่ละช่วงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานด้วยการแจกแจงความถี่ (Frequency) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยมีผลการวิจัยตามประเด็นการศึกษา ดังนี้ 1) สื่อสังคมออนไลน์ที่กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพด้านการศึกษาทุกช่วงอายุนิยมเลือกใช้ในปัจจุบัน คือ Facebook ยกเว้นกลุ่ม Gen Z ที่นิยมใช้ใช้ Instagram ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพอื่นนิยมเลือกใช้ LINE 2) อุปกรณ์สำหรับการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ทั้งกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพด้านการศึกษาและกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพอื่นทุกช่วงอายุนิยมใช้โทรศัพท์สำหรับการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ 3) จุดประสงค์ของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพด้านการศึกษาทุกช่วงอายุ คือ อัปเดตข้อมูลและรับข่าวสาร ยกเว้นกลุ่ม Gen Z ที่มีจุดประสงค์เพื่อความบันเทิง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพอื่นทุกช่วงอายุมีจุดประสงค์เพื่อความบันเทิง ยกเว้นกลุ่ม Gen B ที่ใช้เพื่อค้นหาข้อมูล 4) สื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้สำหรับการค้นหาข้อมูลทั้งกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพด้านการศึกษาและ กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพอื่นทุกช่วงอายุนิยมใช้ Website สำหรับการค้นหาข้อมูล ยกเว้นกลุ่ม Gen B ที่มีอาชีพอื่นใช้ YouTube สำหรับการค้นหาข้อมูล และ 5) การใช้สังคมออนไลน์เพื่อรับความรู้ใหม่ ๆ / เพิ่มทักษะให้กับตนเอง โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพด้านการศึกษาทุกช่วงอายุนิยมใช้ Facebook ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพอื่นทุกช่วงอายุนิยมใช้ YouTube ยกเว้นกลุ่ม Gen X ที่นิยมใช้ Website และ Facebook

Article Details

บท
บทความวิจัย