การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะกรณีศึกษา ชุมชนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ดร.พิณะเวช คงยั่งยืน
ดร.รุ่งรดิศ คงยั่งยืน
ฐากร สวัสดิกำธร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและพฤติกรรมที่เกิดจากการจัดการขยะของชุมชนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์และการสนทนา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 16 คน ประกอบไปด้วย ผู้ใหญ่บ้าน 4 คน  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 4 คน อาสาพัฒนาชุมชน 4 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 4 คน และตัวแทนองค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักพัฒนาชุมชน 1 คน บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 2 คนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 20 คน เป็นการคัดเลือกแบบเจาะจง


ผลการวิจัย พบว่า 1.สภาพปัญหาส่วนใหญ่ของชาวบ้านในตำบลบางรักน้อย คือ ปัญหากลิ่นเหม็นจากขยะเนื่องจากรถเก็บขยะเข้ามาภายในชุมชนไม่เพียงพอ จึงเกิดปัญหาการหมักหมม ปัญหาจุดทิ้งขยะส่วนรวมไม่เหมาะสม  ปัญหาการทิ้งขยะในลำคลองทั้งขยะทั่วไปและขยะที่มีขนาดใหญ่ รูปแบบการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมของตำบลบางรักน้อยประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมในการวางแผน 2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ 3) การมีส่วนร่วมประเมินผล โดยแนวทางในการจัดการขยะโดยองค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย คือการส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อไปชี้แจงเพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนเรียนรู้วิธีการคัดแยกขยะและการจัดหาจุดทิ้งขยะที่เหมาะสมเพื่อรอรถเก็บขยะเข้ามาเก็บตามรอบเวลาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย