มิติแห่งการพัฒนาปัญญาในมหานิบาตชาดก

Main Article Content

พระนิโรธ มหารชัน ชุติชโย
พระศรีวินยาภรณ์, ดร.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาปัญญา 2) เพื่อศึกษามิติแห่งการพัฒนาปัญญาในมหานิบาตชาดก 3) เพื่อบูรณาการการพัฒนาปัญญาด้วยมิติแห่งการพัฒนาปัญญาในมหานิบาตชาดก 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการการพัฒนาปัญญาด้วยมิติแห่งการพัฒนาปัญญาในมหานิบาตชาดก” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเอกสารโดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ 17 รูป/คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหานำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาปัญญา ได้แก่ การพัฒนาสติปัญญามนุษย์ตามทฤษฎีพหุปัญญาของ ศ.ดร. โฮวเวิร์ด การ์ดเนอร์ ซึ่งมีวิธีพัฒนาปัญญา 10 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านภาษา 2) ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3) ด้านดนตรี 4) ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว 5) ด้านมิติสัมพันธ์     6) ด้านมนุษย-สัมพันธ์ 7) ด้านการเข้าใจตนเอง 8) ด้านธรรมชาติ 9) ด้านการดํารงชีวิต 10) ด้านการสอน 2. การพัฒนาปัญญาในมหานิบาตชาดกเป็นการใช้ปัญญาที่ปรากฏในเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ 10 ชาติ ได้แก่ 1) เตมิยชาดก 2) มหาชนกชาดก 3) สุวรรณสามชาดก 4) เนมิราชชาดก      5) มโหสถชาดก 6) ภูริทัตตชาดก 7) จันทกุมารชาดก 8) นารทกัสสปชาดก            9) วิธุรชาดก 10) เวสสันดรชาดก การพัฒนาปัญญานี้ตั้งอยู่บนฐานของปัญญา 3 คือ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา 3. บูรณาการการพัฒนาปัญญาด้วยมิติแห่งการพัฒนาปัญญาในมหานิบาตชาดกย่อมสามารถพัฒนาปัญญาเชิงจริยธรรม ความสามารถด้านต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต การเป็นพลเมืองที่ดี และการมีความเห็นที่ถูกต้อง ความเห็นที่ถูกต้องเป็นรากฐานของการพัฒนาด้านอื่น ๆ เพราะจะสามารถพัฒนาการคิด การพูด การกระทำให้ดีงามขึ้นเป็นลำดับ และสามารถขจัดทุกข์ให้หมดไปในที่สุด ปัญญาพัฒนาที่พัฒนาแล้วย่อมดำเนินชีวิตได้ดีทั้ง 2 ด้าน คือ ประกอบการงานอาชีพต่าง ๆ ให้มีความสุขได้ในสังคมและการปัญญาบริสุทธิ์เพื่อขจัดทุกข์ให้สิ้นไป 4. รูปแบบที่สังเคราะห์ได้จากการวิจัยมิติแห่งการพัฒนาปัญญาในมหานิบาตชาดก เรียกว่า “PAWG MODEL” P = PERFECTIONS หมายถึง การบำเพ็ญบารมี 10 ทัศของพระโพธิสัตว์ A = ADVANTAGES หมายถึง ประโยชน์อันเกิดการนำบารมีเหล่านั้นเป็นตัวตั้ง W = WISDOM หมายเอา การฟัง การคิด การดูให้ประจักษ์ G = GOAL หมายถึง มีสัมมาสัมโพธิญาณเป็นเป้าหมายสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย