ความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครู ในอำเภอเชียรใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 3

Main Article Content

ธัญญา คอแก้ว
ทิพมาศ เศวตวรโชติ
สันติ อุนจะนำ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในอำเภอเชียรใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานของข้าราชการครูในอำเภอเชียรใหญ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในอำเภอเชียรใหญ่สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในอำเภอเชียรใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 และ 4) เพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์ความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในอำเภอเชียรใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ และหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป


ผลการวิจัยพบว่า


1) ความสุขในการทำงานของข้าราชการครูในอำเภอเชียรใหญ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก


 2) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในอำเภอเชียรใหญ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก


3) ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในอำเภอเชียรใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 พบว่า มีความสัมพันธ์กัน      ในเชิงบวก (r = .440 - .762) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .001


4) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) เพื่อเสนอการคัดเลือกตัวแปรความสุขในการทำงานเข้าสู่สมการพยากรณ์ที่ดีที่สุดในการทำนายประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3  พบว่า  ตัวแปรด้านความก้าวหน้าในการทำงาน  ด้านการการคิดเชิงบวก สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครูได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .001 ซึ่งตัวแปรทั้ง 2 สามารถอธิบายการผันแปรประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครู ได้ร้อยละ 71.0 (R2 = .710) ค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการพยากรณ์เท่ากับ 0.252


สามารถเขียนสมการได้ดังนี้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


Y^     =     1.827 + 0.353 (X5) + 0.257 (X2)


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้


Z^     =     0.340 (X5) + 0.332 (X2)

Article Details

บท
บทความวิจัย