ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอน ในสถานศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

Main Article Content

รศ.บุญมั่น ธนาศุภวัฒน์
ดร.วุฒินันทน์ น้อยหัวหาด
อ.รัชนีวรรณ วรรณกุลดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะความเป็นครู ของนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา  2) ระดับสมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 3)  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะความเป็นครูกับสมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา  4) แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา   คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์


             กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา   หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 235 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกนแล้วทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป วิธีการทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะความเป็นครูของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.32, S.D. = 0.28) ระดับสมรรถนะความเป็นครูของกลุ่มตัวอย่าง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.-31 S.D. = 0.29 ) และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะความเป็นครูของกลุ่มตัวอย่างโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากมาก ได้แก่ ด้านความรักและศรัทธาในอาชีพครู (X2) ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X3) ด้านการสนับสนุนจากสังคม (X5) และด้านเจตคติที่มีต่อวิชาชีพครู  (X1) มีอิทธิพลต่อสมรรถนะความเป็นครูของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยด้านการวางแผนและการควบคุมตนเอง  (X4) มีอิทธิพลต่อสมรรถนะความเป็นครูของกลุ่มตัวอย่างอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณการทำนายเท่ากับ 0.803  มีประสิทธิภาพในการทำงนายร้อยละ 64.40  ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ดังนี้


 


                Y^  = 0.683 + 0.220 (X2) + 0.194 (X3) + 0.118(X5) + 0.140 (X1) + 0.098 (X4)


               แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะความเป็นครูของกลุ่มตัวอย่างโดยเรียงลำดับความถี่  5 อันดับ ได้แก่ การเรียนรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตนเองแล้วนำใช้ให้เป็นประโยชน์ (ความถี่ =178 ) การเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะ ความสามารถ และจุดที่ตนเองต้องปรับปรุงแก้ไข (ความถี่ =173) การรู้จักวิธีการบูรณาการการจัดการเรียนรู้ให้เข้ากับกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทุกกิจกรรม (ความถี่ =142 ) การเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครูและเห็นความสําคัญของการเป็นครูอย่างแท้จริง  (ความถี่ =141 )  การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะความเป็นครูก่อนออกฝึกปฏิบัติการสอน  (ความถี่ = 133) ตามลำดับ


 


คำสำคัญ : ปัจจัยที่มีอิทธิพล  ;  สมรรถนะความเป็นครู  

Article Details

บท
บทความวิจัย