การถ่ายทอดคุณค่าเชิงศิลปะผ่านงานดอกไม้สด ของ ห้องปฏิบัติการ “กิรณา งานดอกไม้ไทย”

Main Article Content

กิรณา พงษ์สุวรรณ
ผศ.ดร.ฉัตรวรัญช์ องคสิงห

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการถ่ายทอดคุณค่าเชิงศิลปะผ่านงานดอกไม้สดของ ห้องปฏิบัติการ “กิรณา งานดอกไม้ไทย”และ 2) เพื่อศึกษาการต่อยอดการเรียนรู้ศิลปะงานดอกไม้สดผ่านห้องปฏิบัติการ“กิรณา งานดอกไม้ไทย”เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวนรวมทั้งสิ้น 15 คน แบ่งออกเป็นกลุ่ม 4 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มผู้เรียน 2) กลุ่มศิษย์เก่านักเรียนโรงเรียนช่างฝีมือในวัง (หญิง) 3) กลุ่มลูกค้า 4) ครูผู้สอนห้องปฏิบัติการ “กิรณา งานดอกไม้ไทย”      โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา กรอบแนวคิดทฤษฎีการสร้างคุณค่าทางศิลปะ) โดยผลการศึกษา พบว่า มีองค์ประกอบแห่งคุณค่า 5 ด้าน ดังนี้ 1) คุณค่าเชิงสุนทรียศาสตร์ 2) คุณค่าเชิงสังคม              3) คุณค่าเชิงวัฒนธรรม 4) คุณค่าเชิงเศรษฐกิจ และ 5) คุณค่าเชิงจริยธรรม และ ในการต่อยอดการเรียนรู้ศิลปะงานดอกไม้สด พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอน เป็นแบบหลักสูตรระยะสั้น ใช้ระยะเวลาในการเรียน 5 ชั่วโมงต่อหลักสูตร ผู้เรียนได้รับความรู้ในการร้อยมาลัยตามแบบชาววัง โดยจะเริ่มตั้งแต่ความรู้ขั้นพื้นฐานของงานดอกไม้สดไปจนถึงขั้นประยุกต์ดัดแปลง  ซึ่งได้แก่ การคัดเลือกดอกไม้ การเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของดอกไม้ การรู้จักเครื่องมืออุปกรณ์  การร้อยมาลัย การแต่งตัวมาลัย เช่น มาลัยช่อเอื้อง การประดิษฐ์การประดับ การดัดแปลง ได้ตามความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน หรือตามแบบสมัย ให้เหมาะสมกับงานในแต่ละประเภท ตามแบบการประกอบพิธีต่าง ๆ เพื่อให้สามารถถ่ายทอดคุณค่าของดอกไม้สดตามศิลปะชาววัง การใช้ประโยชน์ของดอกไม้สดให้ได้ครบทุกส่วน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนขั้นตอนการจัดเก็บ วิธีการถนอม ดูแล รักษา ดอกไม้ให้คงความสดสวยงามได้ยาวนานยิ่งขึ้น โดยการต่อยอดนี้จะขึ้นกับทักษะ  การประดิษฐ์และดัดแปลงของผู้เรียนหลังจากเรียนรู้ในขั้นพื้นฐานแล้ว

Article Details

How to Cite
พงษ์สุวรรณ ก., & องคสิงห ผ. (2025). การถ่ายทอดคุณค่าเชิงศิลปะผ่านงานดอกไม้สด ของ ห้องปฏิบัติการ “กิรณา งานดอกไม้ไทย”. Journal of Dhamma for Life, 31(1), 206–217. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/article/view/4127
บท
บทความวิจัย