แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลในระดับพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

ดารารัตน์ สุขแก้ว
ผศ.ดร.พิทักษ์ สุพรรโณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของความฉลาดทางดิจิทัลในระดับพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กับข้อมูลเชิงประจักษ์และ 2. ศึกษาแนวทางในการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลในระดับพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรีและนครปฐม จำนวน 450 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักจิตวิทยาหรืออาจารย์สาขาจิตวิทยาและผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา จำนวน 8 คน ที่เข้าร่วมการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ   แบบสอบถาม แบบวัดและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การจำแนกข้อมูล      การเปรียบเทียบข้อมูลและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย


          ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลเชิงสาเหตุความฉลาดทางดิจิทัลในระดับพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2 = 144.67,  = 75,  p-value = .000, c2/ = 1.93, RMR = .016, RMSEA = .045, CFI = 1.00) ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงที่สุด คือ แรงจูงใจของนักเรียน (MOTI = .68) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (SELF = .40) และการสนับสนุนทางสังคม (SS = .18) ตามลำดับ โดยปัจจัยทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความฉลาดทางดิจิทัลในระดับพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ได้ร้อยละ 79.00 และ 2. แนวทางในการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลในระดับพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่ามี 6 แนวทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย