พฤติกรรมการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ชญานิศ ห่านวิไล
ปัณณธร หอมบุญมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และ 3) นำเสนอแนวทางการลดพฤติกรรมการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 210 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มอย่างสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และแอลเอสดี


ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการนินทาหรือด่าทอผู้อื่น รองลงมา คือ ด้านการลบหรือบล็อกผู้อื่น และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการแอบอ้างชื่อผู้อื่นในด้านลบ 2) นักเรียนที่มีเพศ อายุ ระดับชั้นเรียน ผลการเรียนปีการศึกษาล่าสุด รายได้เฉลี่ยของครอบครัว สถานภาพสมรสของบิดา มารดา อาชีพของบิดา และอาชีพของมารดาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางการลดพฤติกรรมการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ ด้านการนินทาหรือด่าทอผู้อื่น มี 16 รายการ เช่น ไม่โพสต์นินทาหรือด่าทอผู้อื่นบนโลกไซเบอร์เพราะเป็นสิ่งไม่ดี ด้านการหมิ่นประมาทผู้อื่น มี 11 รายการ เช่น ไม่ควรโพสต์หมิ่นประมาทผู้อื่นในโลกไซเบอร์ ด้านการแอบอ้างชื่อผู้อื่นในด้านลบ มี 11 รายการ เช่น ควรมีจิตสำนึกที่ดีไม่แอบอ้างชื่อผู้อื่นในด้านลบ ควรคิดถึงใจเขาใจเรา และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนอื่น ด้านการนำความลับที่เป็นข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลของผู้อื่นไปเปิดเผย มี 9 รายการ เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครูควรสอนเด็กว่าไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของตนเองเปิดเผยบนโลกไซเบอร์ และด้านการลบหรือบล็อกผู้อื่น มี 6 รายการ เช่น การลบหรือบล็อกผู้อื่นหากเป็นเรื่องส่วนตัวเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะทำได้ แต่ถ้าเป็นกลุ่มที่มีคนใช้ร่วมกันเป็นจำนวนมากการลบหรือบล็อกผู้อื่นโดยไม่มีเหตุผลไม่ควรทำ

Article Details

How to Cite
ห่านวิไล ช. . ., & หอมบุญมา ป. . . (2025). พฤติกรรมการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา . Journal of Dhamma for Life, 31(2), 151–165. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/article/view/4494
บท
บทความวิจัย