คติรูปสัญลักษณ์ของภาพไตรภูมิที่ปรากฏในจิตรกรรมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
จิตรกรรมไทยประเพณี คือ จิตรกรรมที่เกี่ยวเนื่องพระพุทธศาสนามีแบบแผนในการเขียนโดยเฉพาะสืบทอดต่อกันมายาวนานมาตั้งแต่สมัยอยุธยามีลักษณะกึ่งอุดมคติกึ่งสมจริง ภาพนิยมเล่าเรื่องในแนวทางด้านพระพุทธศาสนาเช่นภาพไตรภูมิ, ภาพพุทธประวัติ, และภาพชาดก ส่วนของภาพไตรภูมิมีคติความเชื่อที่ปรากฏอธิบายเกี่ยวกับเรื่องภพภูมิตั้งแต่ภูมิที่อยู่ต่ำสุดจนถึงภูมิสูงสุดและโลกุตรภูมิคือสภาวะที่พ้นจากวัฏสงสารภูมิทั้ง 3 ภาพจิตรกรรมแสดงออกเป็นภาพเขาพระสุเมรุที่มีความเชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของจักรวาลซึ่งล้อมรอบด้วยเขาวงแหวนสัตตบริภัณฑ์อันประกอบด้วย เขายุคนธร เขาอิสินธร เขากรวิก เขาสุทัศนะ เขาเนมินธร เขาวินนัตกะ และเขาอัสกัณ สัญลักษณ์ของทวีปทั้ง 4 ในจักรวาลลอยอยู่บนมหานทีสีทันดร พิภพต่างๆที่ตั้งของสวรรค์สูงขึ้นไปตามลำดับชั้นรูปพรหมไปจนถึง อรูปพรหม และคติการอธิบายเกี่ยวกับผลแห่งการกระทำกรรมชั่วย่อมตกสู่อบายภูมิ ซึ่งแสดงออกมาเป็นภาพ “นรกภูมิ” คติ แนวคิดในพุทธปรัชญาเถรวาเชื่อในการทำความดีเพื่อผลในโลกหน้าเป็นจุดหมายในการดำเนินชีวิตเห็นถึงการมีอยู่ของโลก ซึ่งภาพบอกเล่าถึงหน้าที่อันดำเนินไปเป็นวัฏจักรแห่งกรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลาอันได้แก่การหลุดพ้นจากวัฏสงสารคือพระนิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุด