การพิจารณากายตามแนวสติปัฏฐาน 4

Main Article Content

พระมหาบุญเลิศ ปุญฺญเมธี (ภูเหม็น)
พระมหาเมธาสิทธิ์ ฐิตคฺโณ (ชาญกลิ่นน้อย)
พระมหานิติทัศน์ ญาณสิทฺธิ (ศิริวัง)

บทคัดย่อ

การพิจารณากายตามแนวสติปัฏฐาน 4 เป็นการตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดู รู้เท่าทันกายหรือดูรู้ทันกาย ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง การพิจารณาตามดูรู้ทันกายเพื่อเห็นตามความเป็นจริงถึงความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปของกายแล้วละวางความยึดติดถือมั่นด้วยกิเลสในกายตน ละวางความยึดติดถือมั่นด้วยกิเลสในกายผู้อื่นมีสติรู้ว่ากาย มีอยู่เพื่อให้หมายรู้ไปตามความเป็นจริงมิใช่เพื่อให้ยึดติดถือมั่นไว้ เมื่อพิจารณาเห็นตามความเป็นจริง เช่นนี้ตัณหาและความเห็นผิดย่อมจางคลายไป ปลอดโปร่งด้วยความไม่ยึดติดถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลก ท่านจำแนกแนวทางสำหรับการปฏิบัติไว้ 6 หมวด คือ 1) หมวดอานาปานสติคือ การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกกล่าวคือมีสติพิจารณาลม หายใจเข้าออกว่าเกิดขึ้น และดับไป (เสื่อมไป, เปลี่ยนไป) เป็นธรรมดา 2) หมวดอิริยาบถคือการกำหนดรู้อิริยาบถใหญ่ทั้ง 4 คือ การเดิน ยืนนั่ง นอน กล่าวคือมีสติพิจารณาการเดิน ยืน นั่ง นอน หรืออิริยาบถใด ๆ ว่าเกิดขึ้น และดับไป (เสื่อมไป, เปลี่ยนไป) เป็นธรรมดา 3) หมวดสัมปชัญญะคือ การกำหนดรู้อิริยาบถย่อยมีการเหยียด การคู้เป็นต้นร่วมไป กับอิริยาบถใหญ่กล่าวคือมีสติพิจารณาการก้าว ถอย แลมอง กิน ดื่ม พูด ขับถ่าย ฯลฯ ว่าเกิดขึ้น และ ดับไป (เสื่อมไป, เปลี่ยนไป) เป็นธรรมดา 4) หมวดปฏิกูลมนสิการคือ การกำหนดรู้สิ่งปฏิกูลว่าร่างกายเป็นของน่าเกลียดด้วย ผม ขน เป็นต้นกล่าวคือมีสติพิจารณากายนี้ตั้งแต่เท้าจรดปลายผม ว่าประกอบด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ อันเกิดขึ้น และดับไป (เสื่อมไป, เปลี่ยนไป) เป็นธรรมดา 5) หมวดธาตุมนสิการคือ การกำหนดรู้ธาตุทั้ง 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำธาตุไฟ ธาตุลม กล่าวคือมีสติพิจารณาเห็นกายโดยความเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม อันเกิดขึ้น และ ดับไป (เสื่อมไป, เปลี่ยนไป) เป็นธรรมดา

Article Details

บท
บทความวิชาการ