ผลการถ่ายทอดรูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตเชิงพุทธบูรณาการเพื่อป้องกัน การตกเป็นเหยื่อทางความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับดิรัจฉานวิชาในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดรูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตเชิงพุทธบูรณาการเพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อทางความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับดิรัจฉานวิชาในสังคมไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในจังหวัดนครปฐมที่อาสาสมัครเข้าร่วมเป็นกลุ่มทดลองในกิจกรรมการถ่ายทอดรูปแบบตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 30 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการถ่ายทอดรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตเชิงพุทธบูรณาการเพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อทางความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับดิรัจฉานวิชาในสังคมไทย ทำการตรวจสอบความเที่ยงตรง โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 ท่าน ด้วยการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินภูมิคุ้มกันทางจิต ทำการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired Sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า ผลการถ่ายทอดรูปแบบ พบว่า ก่อนถ่ายทอดรูปแบบ มีผลการประเมินภูมิคุ้มกันทางจิตโดยรวมเท่ากับ ( 2.74, P = .00) ระดับคะแนนภูมิคุ้มกันทางจิตอยู่ในระดับปานกลาง และหลังถ่ายทอดรูปแบบ มีผลการประเมินภูมิคุ้มกันทางจิตโดยรวมเท่ากับ ( 3.83, P = .00) ระดับคะแนนภูมิคุ้มกันทางจิตอยู่ในระดับสูง ได้ค่าสถิติทดสอบที เท่ากับ 24.33 ที่องศาอิสระเท่ากับ 29 และ sig เท่ากับ .00 จึงสรุปได้ว่า หลังได้รับการถ่ายทอดรูปแบบทำให้กลุ่มทดลองมีระดับภูมิคุ้มกันทางจิตในระดับที่สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05