การส่งเสริมการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์วิถีพุทธตามแนวนิบาตชาดก

Main Article Content

มณีรัตน์ มีจั่นเพชร
พระศรีวินยาภรณ์, ดร.

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในสังคม 2) เพื่อศึกษานิบาตชาดกที่เกี่ยวเนื่องด้วยการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ 3) เพื่อบูรณาการการส่งเสริมการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์วิถีพุทธตามแนวนิบาตชาดก 4) เพื่อเสนอแนวทางและองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบบูรณาการการส่งเสริมการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์วิถีพุทธตามแนวนิบาตชาดก” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร และสัมภาษณ์เชิงลึก 16 รูป/คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แล้วสรุปผลการวิจัยเพื่อนำเสนอและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบบูรณาการการส่งเสริมการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์วิถีพุทธตามแนวนิบาตชาดก


             ผลการวิจัยพบว่า: การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในสังคมแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เกี่ยวกับตนเอง 2) การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เกี่ยวกับผู้อื่น 3) การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เกี่ยวกับสังคม นิบาตชาดกที่เกี่ยวเนื่องด้วยการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ มีหลักธรรมที่ส่งเสริมการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เกี่ยวกับตนเองส่งเสริมด้วยหลักพรหมวิหาร 2) ด้านการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เกี่ยวกับผู้อื่นส่งเสริมด้วยหลักสังคหวัตถุ 3) ด้านการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เกี่ยวกับสังคมส่งเสริมด้วยหลักกัลยาณมิตร นำหลักธรรมที่ปรากฏในนิบาตชาดกที่เกี่ยวเนื่องด้วยการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ไปบูรณาการกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในสังคมทั้ง 3 ด้าน โดยมีกระบวนการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ คือมีจิตเมตตา พบปัญหาไม่นิ่งดูดาย ขวนขวายช่วยเหลือ ร่วมจุนเจือสังคม องค์ความรู้ที่ได้ คือรูปแบบบูรณาการการส่งเสริมการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์วิถีพุทธตามแนวนิบาตชาดก เรียกว่า “LCHC” Model หมายถึง มีจิตเมตตา (L = Loving kindness) พบปัญหาอย่านิ่งดูดาย (C = Compassionate mind) ขวนขวายช่วยเหลือ (H = Helping societies) ร่วมจุนเจือสังคม (C = Co-operation)

Article Details

บท
บทความวิจัย