ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเทพมงคลรังษี จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ลัลณ์ลลิน พงษ์ศักดิ์ขจร
รศ.ดร.สงวน อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเทพมงคลรังสี จังหวัดกาญจนบุรี และ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเทพมงคลรังษี จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงานตำแหน่งปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย สายผู้บริหาร จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการ จำนวน 4 คน หัวหน้ากลุ่มสาระ จำนวน 8 คน หัวหน้าสายชั้น จำนวน 6 คน และสายผู้สอน ประกอบด้วย ครู 71 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการ ตามแนวคิดของฮอลลิงเจอร์และเมอร์ฟี่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test)


 


          ผลการวิจัยพบว่าภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเทพมงคลรังษี จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน (Monitoring student progress) ด้านการควบคุมเวลาการเรียนการสอน (Protecting instructional time) ด้านการพัฒนามาตรฐานและความคาดหวังระดับสูง (Developing and enforcing academic standards) ด้านการนิเทศและประเมินผลการสอน (Supervising and evaluating instruction) ด้านการประสานงานหลักสูตร (Coordinating curriculum) ด้านส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพครู (Providing professional development) ด้านการกำหนดและสื่อสารเป้าหมายของโรงเรียน (Defining the school mission) และด้านการให้สิ่งจูงใจแก่ครูและนักเรียน (Providing incentives for teachers) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเทพมงคลรังสี จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงานตำแหน่งปัจจุบันในสถานศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย