ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2

Main Article Content

กฤชชุดา เทพพิทักษ์
รศ.ดร.มัทนา วังถนอมศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 2) คุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยใช้ผู้ให้ ข้อมูลเป็นหน่วยวิเคราะห์ (unit of analysis) โรงเรียนละ 2 คน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษา 2) ครู ผู้ให้ ข้อมูล 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับ คุณภาพของผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของสถานศึกษา สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ได้ ดังนี้ การอุทิศตน ความใจกว้าง ความซื่อสัตย์ ความนอบน้อม ความเอื้ออารี ความคิด สร้างสรรค์ ตามลำดับ 8 คุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ มีความรู้ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและ การคิดคำนวณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมี วิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา ตามลำดับ และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ลักษณะคล้อยตามกันอยู่ในระดับ ปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย