การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร กับความเพลินในงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำกัดงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ครองคน บำรุงเวช
ผศ.ดร.สายสุดา เตียเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา 2) ความเพลินในงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับความเพลินในงานของครู ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา 28 โรง กำหนดผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 4 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ โรงเรียนหรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่รอง ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน และครู จำนวน 2 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 112 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดของสันติ บุญภิรมย์ และความเพลินในงานตามแนวคิดของแบค เคอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พระนครศรีอยุธยาเมื่อพิจารณาภาพรวมและรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไป หาน้อยได้ดังนี้ ด้านการร่วมทำ ด้านร่วมปรับปรุงวิธีการทำงานใหม่ ด้านร่วมยอมรับในผลการประเมิน ด้านร่วมประเมินผล งาน และด้านการร่วมคิด ความเพลินในงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน โดย เรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ความเบิกบานใจในการทำงาน และแรงจูงใจภายในที่เกี่ยวข้องกับ การทำงาน อยู่ในระดับมาก 1 ด้าน ได้แก่ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับงาน และความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร กับความเพลินในงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะคล้อยตามกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย