ชีวิตวิถีพุทธตามแนวธัมมปทัฏฐกถา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง ชีวิตวิถีพุทธตามแนวธัมมปทัฏฐกถา มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา 2. เพื่อศึกษาชีวิตวิถีพุทธที่ปรากฏในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา 3. เพื่อวิเคราะห์ชีวิตวิถีพุทธตามแนวธัมมปทัฏฐกถา
ผลของการวิจัยพบว่า
คัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา หรือธรรมบทเป็นบทเทศนาประเภทร้อยกรอง ตามประวัติพระธรรมสังคหกาจารย์ได้รวบรวมคาถาธรรมบท จำนวน 423 คาถา ไว้เป็นหัวข้อธรรมหมวดหนึ่งในจำนวน 15 หมวด ของคัมภีร์ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก ธรรมบท นับเป็นหมวดที่ 2 ในพระไตรปิฎก ธรรมบทเป็นนิทานเรื่องเล่าของบุคคลในครั้งพุทธกาลตามที่แสดงไว้ในพระไตรปิฎก ชีวิตวิถีพุทธ เป็นชีวิตที่ดำเนินตามแนวทางแบบเป็นไปตามธรรมชาติ หรือตามความเป็นจริงของธรรมชาติ พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระธรรม ที่เป็นความจริงของธรรมชาติ ทรงตรัสรู้ด้วยใจ จึงทรงแสดงว่าใจมีความสำคัญเป็นอันดับแรกเหนือทุกสิ่ง ทรงแสดงความต้องการความสุขของมนุษย์ทั้งโลกนี้และโลกหน้า หลักธรรมสำคัญที่มีแสดงมาในธรรมบทก็คือกฎแห่งกรรม ที่แสดงเหตุและผลทั้งสามกาล หนึ่งในอดีต สองในปัจจุบัน สามในอนาคต
ชีวิตวิถีพุทธตามแนวธัมมปทัฏฐกถา แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ 1) บรรพชิต แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มคันถธุระที่มุ่งเน้นการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และกลุ่มวิปัสสนาธุระ ที่มุ่งเน้นการบำเพ็ญปฏิบัติธรรม 2) คฤหัสถ์ แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มอริยชนและปุถุชน
วิเคราะห์ชีวิตวิถีพุทธตามแนวธัมมปทัฏฐกถา ได้ 3 มิติ คือ 1) มิติด้านตนเอง มีหลักธรรมด้านทาน ศีล ภาวนา 2) มิติด้านครอบครัว มีหลักสมธรรม 3) มิติด้านสังคม มีหลักธรรมสังคหวัตถุ ผาสุกวิหารธรรม และสามัคคีธรรม หลักธรรมทั้งหมดสรุปลงที่ไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา