ภาวะสุขภาพจิตและการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตและการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับภาวะสุขภาพจิต และการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักศึกษาปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กลุ่มตัวอย่างของวิจัยคือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 189 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด (DASS-21) และแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยคะแนน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่ามากที่สุดและค่าน้อยที่สุด วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง โดยค่าเฉลี่ยคะแนนรวมของการเห็นคุณค่าในตนเองมีค่าเฉลี่ยคือ 49.25 มีค่าเฉลี่ยคะแนนของภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียดอยู่ในระดับปกติ คิดเป็นร้อยละ 57.1, 38.1 และ 63 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าในตนเอง ได้แก่ มุมมองความเข้าใจต่อเด็ก ความสัมพันธ์กับครูอาจารย์ และ ความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ความสัมพันธ์กับครูอาจารย์ ความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ชั้นปีที่กำลังศึกษา เมื่อเรียนจบจะประกอบอาชีพครูปฐมวัยหรือครูประถมศึกษา และ ความพึงพอใจระหว่างที่กำลังศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เทียบกับวันแรกเข้า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวล ได้แก่ ความสัมพันธ์กับครูอาจารย์ ความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ความสัมพันธ์กับเพื่อน อาชีพที่ใฝ่ฝันตรงกับอาชีพที่อยากจะทำในปัจจุบัน และ โรคประจำตัว และ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด ได้แก่ ความสัมพันธ์กับครูอาจารย์ ความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง