พระพุทธศาสนากับการพัฒนาทุนมนุษย์และสังคม

Main Article Content

พระครูใบฎีกาทวีศักดิ์ ใต้ศรีโคตร
พระมหาสราวุธ โพธิ์ศรีขาม ดร.

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนากับการการพัฒนาความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นสาระส่วนแก่นแท้ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้สภาพแวดล้อมแห่งกาลเทศะของยุคสมัย โดยประยุกต์หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา เพื่อสนองความต้องการของผู้คนในสังคม ด้วยการพัฒนาความเป็นมนุษย์และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างถูกต้อง ผลการศึกษาพบว่า หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ได้พัฒนาคนและสังคมอย่างสัมพันธ์ควบคู่กันไปและเป็นปัจจัยต่อกัน โดยคำนึงถึงธรรมชาติแวดล้อมพร้อมไปด้วย ตามหลักการที่จัดวางไว้เป็นระบบอย่างครบถ้วนชัดเจน เพื่อแสดงให้เห็นว่า คนที่พัฒนาดีแล้ว เป็นกำลังสำคัญต่อการสร้างสรรค์สังคมให้เจริญงอกงามและเอื้อโอกาสให้ทุกคนเจริญยิ่งขึ้นไปในการมีชีวิตที่ดีงามและมีความเกษมสุข นอกจากนี้ พระพุทธศาสนายังมีความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของชาวพุทธในฐานะที่เป็นสถาบันหนึ่งของสังคม ซึ่งมีความสำคัญต่อประเพณีทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ รวมถึงสามารถแก้ปัญหาและความเป็นอยู่ของปัจเจกบุคคลและสังคมโดยรวม อาจกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาทำหน้าที่จัดระเบียบเพื่อความคงอยู่ของชุมชนในสังคม ภายใต้สภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมร่วมสมัย

Article Details

How to Cite
ใต้ศรีโคตร พ., & โพธิ์ศรีขาม พ. . (2024). พระพุทธศาสนากับการพัฒนาทุนมนุษย์และสังคม. Journal of Dhamma for Life, 30(4), 274–282. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/article/view/3719
บท
บทความวิชาการ