การสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนผู้บกพร่องทางการได้ยินผ่านศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนผู้บกพร่องทางการได้ยินผ่านศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก 2. เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการรับรู้เยาวชนผู้บกพร่องทางการได้ยินผ่านศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฎการณ์วิทยา ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มครูฝึก กลุ่มเยาวชนปกติ กลุ่มเยาวชนผู้บกพร่อง ทางการได้ยิน กลุ่มครูโรงเรียนที่สอนผู้พิการ ครูภาษามือ และ นายกสมาคมโรตารี่ จำนวน 46 คน ขอบเขตพื้นที่ศึกษาโรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้การพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (Simpson. 1972) ซึ่งมี 7 ขั้น คือ 1. ขั้นการรับรู้ (Perception) 2. ขั้นการเตรียมความพร้อม (Readiness) 3. ขั้นการสนองตอบภายใต้การควบคุม (Guided Response) 4. ขั้นการให้ลงมือกระทำจนกลายเป็นกลไกที่สามารถกระทำได้เอง (Mechanism) 5. ขั้นการกระทำอย่างชำนาญ (Complex Overt Response) 6. ขั้นการปรับปรุง และประยุกต์ใช้ (Adaptation) 7. ขั้นการคิดริเริ่ม (Origination) ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ที่1 เพื่อศึกษาการสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนผู้บกพร่องทางการได้ยินผ่านศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนการแสดงหุ่นละครเล็ก ภายใต้หลักสูตร “เรียน รำ เล่น” ของ “คณะแม่นายสิปปะธรรม” สามารถเสริมสร้างศักยภาพเยาวชนผู้บกพร่องทางการได้ยินผ่านศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 พัฒนาการทางด้านร่างกาย ด้านที่ 2 การพัฒนาทางด้านอารมณ์ ด้านที่ 3 การพัฒนาการด้านสังคม และด้านที่ 4 การพัฒนาด้านสติปัญญา ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการรับรู้ของเยาวชนผู้บกพร่องทางการได้ยินผ่านศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก พบว่า การเรียนการสอนแบบเน้นการใช้สายตาเป็นฐาน ช่วยเสริมสร้างความก้าวหน้าทางรับรู้ของเยาวชน ผู้บกพร่องทางการได้ยินผ่านศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก