การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาสังคม: กรณีศึกษาวัดระฆังพรหมรังส

Main Article Content

พศิน สินมา
อำพล บุดดาสาร
พระครูธรรมธรปุญญาพัฒน์ แสงวงศ์ดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาสังคม 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาสังคมของวัดระฆังพรหมรังสี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยคุณภาพเชิงเอกสาร ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ 17 รูป/คน วิเคราะห์เชิงเนื้อหาและนำเสนอเชิงพรรณาวิเคราะห์


ผลการศึกษาพบว่า


  1. แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาสังคมสามารถอธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในมิติต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระบบ โดยทฤษฎีภาวะทันสมัยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงจากสังคมดั้งเดิมไปสู่สังคมสมัยใหม่ผ่านปัจจัยทางเศรษฐกิจ การศึกษา และเทคโนโลยี ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ให้ความสำคัญกับบทบาทของสถาบันทางสังคมในการรักษาความสมดุลของสังคม ขณะที่ทฤษฎีการพัฒนาสังคมของ ดร. เอน สมิงเงอร์ เน้นแนวทางเชิงบูรณาการ โดยพิจารณาทั้งปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อการพัฒนา เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคม

  2. หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมสามารถส่งเสริมความสามัคคีและความยั่งยืนของสังคม หลักสังคหวัตถุ 4 เน้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีผ่านการให้ พูดจาดี ช่วยเหลือกัน วางตนเหมาะสม หลักสาราณียธรรม 6 ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคม ตั้งมั่นในศีล มีความเห็นที่ถูกต้อง หลักภาวนา 4 มุ่งพัฒนากาย ศีล จิต และปัญญาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต

  3. วัดระฆังพรหมรังสีประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการพัฒนาชุมชนและกิจกรรมภายในวัด โดยการสงเคราะห์ผู้ยากไร้ การส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพระภิกษุและฆราวาส การสร้างงานและรายได้แก่ผู้ที่ช่วยเหลือวัด มีการบริหารทรัพยากรแบบโปร่งใส วัดยังนำหลักสาราณียธรรม 6 มาใช้ในการสร้างความสามัคคีและการช่วยเหลือซึ่งกัน รวมถึงการใช้หลักภาวนา 4 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตทั้งพระภิกษุและฆราวาส

Article Details

How to Cite
Sinma, P. ., บุดดาสาร อ. ., & แสงวงศ์ดี พ. . (2025). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาสังคม: กรณีศึกษาวัดระฆังพรหมรังส. Journal of Dhamma for Life, 31(2), 116–129. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/article/view/4869
บท
บทความวิจัย