การสื่อสารอุดมการณ์ช่างภาพในวงการศิลปะและธุรกิจ: กรณีศึกษา นายเกรียงไกร ไวยกิจ

Main Article Content

ศิรวิชช์ ชยันตรดิลก
กนกรัตน์ ยศไกร
สุกัญญา บูรณะเดชาชัย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบริบทวงการถ่ายภาพแนวธุรกิจและศิลปะในประเทศไทย (2) เพื่อวิเคราะห์ชีวประวัติและอุดมการณ์ของศิลปิน นายเกรียงไกร ไวยกิจ ต่องานถ่ายภาพ (3) เพื่อสังเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารของศิลปิน นายเกรียงไกร ไวยกิจ สู่วงการศิลปะและธุรกิจ ผลการวิจัยพบว่า (1) บริบทสังคมไทยการถ่ายภาพแนวธุรกิจและแนวศิลปะมีการเติบโตมากขึ้นจากเทคโนโลยีดิจิทัล (2) ชีวประวัติและอุดมการณ์ของศิลปิน ช่วงที่ 1 เกรียงไกรเป็นเด็กมีฐานะยากจนแต่เรียนรู้และหารายได้จากการวาดภาพ อุดมการณ์ที่ฝังรากลึกจากความรักในการวาดภาพ (โครงสร้างชั้นบน) ส่งผลต่อการมีรายได้ในการเรียนและดำรงชีวิต (โครงสร้างชั้นล่าง) ช่วงที่ 2 เริ่มเข้าสู่วงการถ่ายภาพและมีอุดมการณ์ทำให้สังคมยอมรับว่าภาพถ่ายคืองานศิลปะ ช่วงที่ 3 ฝีมือการถ่ายภาพได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ และมีอุดมการณ์ให้ประขาชนทั่วไปยอมรับว่าภาพถ่ายคืองานศิลปะ ช่วงที่ 4 ผลิตหนังสือและใช้บ้านเป็นที่จัดนิทรรศการเพื่อให้ผู้ที่นิยมสืบทอดอุดมการณ์ฯ (3) กลยุทธ์การสื่อสารของศิลปินสู่วงการศิลปะและธุรกิจ โดยช่วงที่ 2 เริ่มเรียนรู้การถ่ายภาพ ใช้การสื่อสารภายในบุคคล ส่งให้ผู้รู้วิจารณ์ผลงาน และหาพื้นที่ในการส่งภาพประกวดจากเวทีเล็กสู่ระดับชาติและนานาชาติ ช่วงที่ 3 มีการถ่ายทอดอุดมการณ์ “ภาพถ่ายคืองานศิลป์” และใช้กลยุทธ์วิเคราะห์ผู้รับสาร กำหนดวัตถุประสงค์ การเลือกใช้สื่อ การเลือกสาร การสร้างการมีส่วนร่วม การเล่าเรื่องด้วยภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว การนำเสนอทุกมิติด้วยมุมบวก การทำหนังสือ นิทรรศการ) และสื่อออนไลน์ ช่วงที่ 4 ใช้กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสืบทอดอุดมการณ์ ด้วยการจัดทำหนังสือ “วาดด้วยภาพ”เผยแพร่ และเปิดช่องทางการสื่อสารด้วยทำบ้านให้เป็นแกลลอรี่ภาพถ่าย ผู้รับสารคือแฟนคลับ

Article Details

How to Cite
ชยันตรดิลก ศ. ., ยศไกร ก. ., & บูรณะเดชาชัย ส. . (2025). การสื่อสารอุดมการณ์ช่างภาพในวงการศิลปะและธุรกิจ: กรณีศึกษา นายเกรียงไกร ไวยกิจ. Journal of Dhamma for Life, 31(2), 1–13. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/article/view/4923
บท
บทความวิจัย