“วารสารจีนวิทยาและการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ” ฉบับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ตีพิมพ์เป็นฉบับที่ 2 ซึ่งต่อไปนี้เป็นการแนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้องโดยย่อสำหรับผู้อ่าน
โดยมีวิจัยทั้งหมด 10 ฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในฉบับนี้ รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับภววิทยาของภาษาจีน ตลอดจนประเด็นที่มีความนิยมและความยากลำบากในด้านการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ เช่น "มาตรฐานการวัดผลความสามารถทางภาษาจีนสำหรับการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ" ทั้งปัจจัยทางวัฒนธรรมในการสอนภาษาจีนสากล การเรียบเรียงหนังสือเรียน และการสร้างทีมครูท้องถิ่น รวมถึงการวิจัยปัญหาที่เป็นที่นิยมและมีความยาก
บทความเรื่องประเภทการจัดการภาษาจีนจากมุมมองของทฤษฎีโครงสร้างเหตุการณ์ โดย ซุน อี้ชุน (Sun Yichun) และ หวัง เปาฮวา (Wang Baohua) บทความนี้เริ่มต้นด้วยปัญหาของการจำกัดการแบ่งคำกริยาในการแสดงอารมณ์ รวมทั้งทบทวนความหมายของลักษณะในภาษาจีนสมัยใหม่ และตามเหตุการณ์แยกย่อยที่แตกต่างกันของการเปลี่ยนแปลงสถานะ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบตัวแปรต่างๆ และรูปแบบทั่วไป ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ใหม่สำหรับชุดการจัดการ ดังนั้นจึงอธิบายสิ่งที่เรียกว่า กลไกการก่อตัวของรูปแบบการจัดการโดยไม่มีการจัดการ
บทความโดย เติง จางอิง (Deng Zhangying) และไป่ เสี่ยวหลี่ (Bai Xiaoli) เรื่องการวิเคราะห์เชิงปริมาณตารางตัวอักษรจีนของมาตรฐานการวัดผลความสามารถทางภาษาจีนสำหรับการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ ซึ่งทำการวิเคราะห์เชิงปริมาณของ "ตารางตัวอักษรจีน" จากมุมมองของการลากเส้นและเพื่อให้การสนับสนุนที่เชื่อถือได้สำหรับการสอนตัวอักษรจีน ลำดับของการสอนการลากเส้นเดียว การกำหนดประเด็นการสอนที่สำคัญและยาก การเลือกตัวอย่างการสอนและการออกแบบการสอนแบบฝึกหัดและเกมในห้องเรียน
บทความโดย ไป่ เสี่ยวหลี่ (Bai Xiaoli ) และ จู ไห่หาน (Zhu Haihan) เรื่องการวิจัยการสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรคำสัมพันธ์ของมาตรฐานการวัดผลความสามารถทางภาษาจีนสำหรับการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ ซึ่งเสนอให้ใช้อักษรจีนเป็นจุดเริ่มต้นและใช้ทฤษฎีอักษรจีนเป็นตัวชี้แนะในการรวมตัวอักษรจีนที่ระบุไว้ใน "ระดับมาตรฐาน" กับคำศัพท์ใช้เป็นสิ่งในการเรียงลำดับ คัดแยกและมีการเสนอแนวคิดและวิธีการเฉพาะสำหรับการสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรความสัมพันธ์ระหว่างคำกับคำ โดยมีมุมมองในการสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรที่รวบรวมแบบโครงสร้างอักษรและฟังก์ชันการบันทึกคำ อีกทั้งจัดหาแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการสอนภาษาจีนที่เชื่อถือได้สำหรับครูสอนภาษาจีนนานาชาติ และในขณะเดียวกันได้ช่วยเหลือการเรียนรู้ภาษาจีน การเรียนรู้เชิงลึกของตัวอักษรและคำศัพท์ภาษาจีน
บทความโดย ชุย จินหมิง (Cui Jinming) และ เหยียน กั้วชิ่ง (Yan Guoqing) เรื่องการสำรวจและฝึกฝนการบูรณาการวัฒนธรรมระดับภูมิภาคเข้ากับการสอนภาษาจีนสากลในยุคใหม่ บ่งชี้ว่าปัจจุบันการบูรณาการองค์ประกอบทางวัฒนธรรมระดับภูมิภาคเข้ากับการสอนภาษาจีนนานาชาติยังไม่เพียงพอ ผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษาภาษาจีนนานาชาติควรปรับเนื้อหาให้เหมาะสมอยู่เสมอ จัดห้องเรียนและแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับการพัฒนาสังคมในปัจจุบัน ตลอดจนให้ความสนใจกับความต้องการของนักศึกษาต่างชาติ เพิ่มการเผยแพร่ชีวิตทางสังคมและเพิ่มการตีความประเด็นที่มีความนิยมและยาก
บทความโดย จ้าว ตงเชียน (Zhao Dongqian) และ หวง ยู่หยิง ( Huang Yuying) บทความเรื่องการวิจัยเกี่ยวกับการนำเสนอวัฒนธรรมจีนในชุดหนังสือเรียนของการพัฒนาภาษาจีน ซึ่งยกตัวอย่างหลักสูตรที่ครอบคลุม "การพัฒนาภาษาจีน" โดยวิเคราะห์เนื้อหาของวัฒนธรรมจีนในหนังสือเรียนจากมุมมองของการนำเสนอของวัฒนธรรมจีนและวิเคราะห์เนื้อหาวัฒนธรรมทั้ง 5 ด้าน วิเคราะห์ความถี่และแนวโน้มของแต่ละหมวดในแต่ละช่วงการเรียนรู้และเสนอแนะสำหรับสื่อการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศในอนาคต
บทความโดย หยาง เถียน (Yang Tian) และ เหมิง หลี่จวน (Meng Lijuan) บทความเรื่องการวิเคราะห์เชิงประจักษ์ของกลยุทธ์การแก้ไขหนังสือ "เกี่ยวกับประเทศจีน" สำหรับนักเรียนต่างชาติในประเทศจีนตามความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกเนื้อหาทางวัฒนธรรมของหนังสือเรียน "เกี่ยวกับประเทศจีน" ในปัจจุบันและการเรียนรู้ตามความต้องการของนักเรียนต่างชาติผ่านการสำรวจแบบสอบถามและเสนอว่าควรเน้นการเรียนรู้หลักของนักเรียนต่างชาติในประเทศจีน ทั้งควรแนะนำหลากหลายทางนื้ิอหา เพื่อการรวบรวมหนังสือเรียน "เกี่ยวกับประเทศจีน" และการสร้างหนังสือเรียนแบบดิจิทัล รวมทั้งควรมีการปรับปรุงทรัพยากรอย่างต่อเนื่องและใช้หนังสือ "เกี่ยวกับประเทศจีน" เป็นตัวกระตุ้นเป้าหมาย เพื่อเป็นกำหนดด้านการศึกษาแห่งชาติของจีนสำหรับนักเรียนต่างชาติในประเทศจีนให้สำเร็จลุล่วง
บทความโดย หลี่ จินฮวา (Li Jinhua) และ เฉิน ซินเว่ย (Chen Xinwei) ในบทความเรื่องการวิจัยการสอนการแสดงออกเชิงปริมาณภาษาจีนสำหรับคนเกาหลี โดยมุ่งเน้นไปที่ภาษาจีน "สอง" (er) และ "สอง" (liang) และภาษาเกาหลี "i" และ "tu" ซึ่งมีรูปแบบที่ซับซ้อนและสามารถเข้าใจผิดได้มากที่สุดสำหรับคนเกาหลี จึงมีการอภิปรายและหยิบยกข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการสอนตัวอักษรจีนคำที่เป็นตัวเลข "2" สำหรับคนเกาหลี
บทความโดย หลิว เจีย (Liu Jie) ฟ่าน เว่ย (Fan Wei) และ หวัง หลี่เย่ (Wang Liyue ) บทความเรื่องครูฝึกสอนภาษาจีนระดับนานาชาติ การวิจัยเชิงประจักษ์เชิงเปรียบเทียบ ISS โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณของการวิเคราะห์ข้อมูล SPSS25 ดำเนินการวัดความละเอียดทางวัฒนธรรมของครูใหม่ อายุการสอนต่ำกว่า 5 ปีและครูที่มีประสบการณ์การสอน 5-16 ปี จากการศึกษาเปรียบเทียบเชื่อว่าการปลูกฝังความมั่นใจในตนเองของครูสอนภาษาจีนนานาชาติในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับปรุงความอ่อนไหวระหว่างวัฒนธรรมและเพิ่มความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ครูใหม่ จะต้องสร้างเอกลักษณ์ของตนเองในวิชาชีพสะท้อนพฤติกรรมการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและสะสมประสบการณ์ต่างวัฒนธรรมต่อไป
บทความโดย หลัว เจี้ยนผิง (Luo Jianping ) และ หู เยียนฮวา ( Hu Yanhua) บทความเรื่องความคิดบางประการของการสร้างครูชาวไทยสอนภาษาจีน โดยผ่านการสรุปประสบการณ์พื้นฐานของการสร้างทีมครูสอนภาษาจีนในท้องถิ่นของไทยและมุ่งเป้าไปที่ปัญหาหลักในการสร้างทีมครูสอนภาษาจีนในท้องถิ่นของไทยในปัจจุบัน รวมทั้งเสนอแนะคำแนะนำเชิงปฏิบัติ
บทความโดย เสิ่น หง (Shen Hong) ซง ชูอี (Song Chuyi) และ ฉาย ชิวซง (Cai Qiusong) บทความเรื่องรายงานการสำรวจสถานการณ์การเรียนรู้ภาษาจีนของคนไทยเชื้อสายจีนในเบตง ประเทศไทย โดยพาผู้เรียนภาษาจีนเจ็ดคนที่มีภาษาจีนที่สืบทอดมาสามชั่วอายุคนในเมืองเบตง จังหวัดยะลา ทางตอนใต้ของประเทศไทยที่เป็นพื้นที่ระหว่างเขตชายแดนมาเลเซียและประเทศไทยเป็นเป้าหมายหลักและได้ทำการสำรวจภาคสนามค้นหาคุณลักษณะของวิชาในการเรียนรู้ภาษาจีน วิเคราะห์เหตุผลจากปัจจัยด้านครอบครัวแรงจูงใจในการเรียน ระดับการสอน รวมถึงความรู้ความเข้าใจในตนเองเป็นต้น และสุดท้ายได้เสนอข้อเสนอแนะที่สอดคล้องกันจากสองมุมมองของครอบครัวและโรงเรียนจีน
เผยแพร่แล้ว: 2022-12-31