การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกรรมกับจิต ในพระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

พระมหาพงศธร เขมธโร (ตรีสุวรรณ์)
รศ.ดร.สุวิญ รักสัตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากรรมกับจิตในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกรรมกับจิตในพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์ฺความสัมพันธ์ระหว่างกรรมกับจิตในพระพุทธศาสนาเถรวาท งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสารและมีการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 12 รูป/คน การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎก และข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย


  ผลการวิจัย พบว่า กรรมความเป็นธรรมชาติของกรรมนั้น มีระบบจำแนกเจาะจงตามลักษณะของเหตุปัจจัย เรียกว่า เจตนา มีระบบการรับรู้จดจำ เรียกว่า จิต และจะแปรผันตามลักษณะของการรับรู้ กรรมดี กรรมชั่ว และผลฃองกรรมทุกอย่างจะถูกเก็บไว้ที่จิต กรรมกับจิตมีระบบความสัมพันธ์ มีลักษณะการทำงานที่เป็นไปตามกฎ เป็นสิ่งธรรมดาที่มีกระบวนการสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัยตามระบบของขันธ์ 5 ตามรูปแบบของปฏิจจสมุปบาท เรียกว่า ระบบชีวิตทำให้มีความเชื่อที่ถูกต้อง การเข้าใจระบบสัมพันธ์ของกรรมกับจิต และการให้ผลของกรรม ทำให้สามารถเข้าใจในการสร้างเงืื่อนไขความสัมพันธ์ของกรรมกับจิต ผลกระทบของกรรมกับจิตเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใกล้ตัวของมนุษย์ที่ทำให้เกิดความเข้าใจในระบบการทำงานของกรรมกับจิต ที่ส่งเสริมต่อการปฎิบัติต่อกรรมกับจิตในการพัฒนาตนตามรูปแบบการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา

Article Details

บท
บทความวิจัย