วารสารฉบับแรกของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นฉบับปฐมฤกษ์ของ “วารสารจีนวิทยาและการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ” ซึ่งเป็นผลงานวิชาการที่มีเนื้อหาครอบคลุมหลายด้านซึ่งล้วนเกี่ยวเนื่องกับภาษาวัฒนธรรมจีนและการเรียนการสอนภาษาจีน โดยมีบทความทั้งสิ้น 10 บทความ ดังนี้
บทความแรก “การคิดแบบวิภาษวิธีและวิธีการสอนภาษาจีนนานาชาติ” ได้นำเสนอแนวทางในการศึกษาวิธีการสอนไว้สองประเด็นใหญ่ ประการที่หนึ่ง เชื่อว่าในการศึกษาวิธีการสอนภาษาจีนควรเน้นการศึกษาวิธีจัดการกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ในการสอน เช่นความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนเป็นเนื้อหาหลักในการเรียนการสอน ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเนื้อหาและแนวทางการสอน ความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้และการเรียนรู้กระบวนการสอน เป็นต้น ประการที่สอง คือ การเรียนรู้จากหลักการทั่วไปของการสอนภาษาที่สอง เน้นที่ลักษณะของการสอนภาษาจีน และได้ค้นพบกฎพิเศษของการสอนภาษาจีน คือมีความคิดริเริ่ม นำนวัตกรรมมาสร้างและปรับปรุงวิธีการสอนภาษาจีนขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและเวลา เพื่อให้เข้าถึง “ภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น” ได้ดียิ่งขึ้น
บทความที่สอง ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็น วิธีการสอน เนื้อหาการสอน สื่อการสอน ฯลฯ พร้อมแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีจีนในวิชาเอกภาษาจีนในระดับอุดมศึกษา
บทความที่สาม ได้นำเสนอการศึกษาเรื่อง การสอนและบอกเล่าเรื่องราวของจีนผ่านมุมมองข้ามวัฒนธรรม ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การเล่าเรื่องจีนต้องใช้ความคิดอย่างรอบคอบ มีความรู้เกี่ยวกับข้ามวัฒนธรรมเป็นอย่างดี การสำรวจเชิงลึกเกี่ยวกับธรรมชาติที่แท้จริงของวัฒนธรรม มีความกว้างขวางด้านการข้ามวัฒนธรรม และความเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมโบราณและสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงแต่ต้องบอกเล่าเรื่องราวเท่านั้น แต่ยังต้องแสดงวิธีคิดเกี่ยวกับการเล่าเรื่องด้วย
บทความที่สี่ ได้นำเสนอผลการศึกษากรณีศึกษาการใช้คำว่า “的” ของผู้เรียนระดับกลางชาวอียิปต์ พบว่า ความสามารถในการใช้คำว่า “的” ของผู้เรียนภาษาจีนชาวอียิปต์มีการใช้หลักไวยกรณ์ที่แตกต่างกันไป มีความเข้าใจวิธีการใช้ “的” ที่แตกต่างกันออกไป นำไปสู่การมีลักษณะเฉพาะของระบบการสื่อสารภาษาจีนของชาวอียิปต์
บทความที่ห้า ได้นำเสนอผลการศึกษาแนวโน้มด้านจำนวนผู้เรียนภาษาจีนและการเปลี่ยนแปลงความสามารถภาษาจีนของผู้เรียนภาษาจีนในภาคใต้ของประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมถึงปัญหาที่ส่งผลกระทบพร้อมทั้งนำเสนอแนวทางเบื้องต้นในการจัดการ
บทความที่หก ได้นำเสนอผลการศึกษาสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาเนื้อหาในการเรียนการสอนรายวิชาความเป็นชาติของจีน โดยรวบรวมข้อมูลทั้งแบบเรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ผู้เรียน และเนื้อหาในการเรียนการสอน เพื่อนำข้อมูลนำเสนอแนวคิดและแนวทางในการพัฒนาการการเรียนการสอน
บทความที่เจ็ด เป็นบทความการศึกษาภาษาและอักษรจีนโบราณจากภาษาจีนโบราณที่ถูกบันทึกไว้บนไม้ไผ่โบราณ โดยจากการศึกษาวิเคราะห์และแบ่งวรรคตอนข้อความที่ถูกนำมาศึกษา ผลการศึกษาได้นำเสนอข้อค้นพบแนวทางในการอ่านออกเสียงและให้ความหมายจากอักษรจีนโบราณในรูปแบบใหม่
บทความที่แปด ได้นำเสนอผลการศึกษา ปัญหาการแปลภาษาอังกฤษบทกวีของตู้ ฝู (Du Fu) โดยSteve Irwin โดยศึกษาและวิเคราะห์ครอบคุลมในประเด็นของ โครงสร้าง ไวยกรณ์ จินตภาพ ฉันทลักษณ์ พร้อมทั้งอภิปรายคุณค่าและคุณภาพของงานแปล อีกทั้งยังได้นำเสนอแนวโน้มของวรรณคดีคลาสสิคและการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ
บทความที่เก้า บทความได้นำเสนอ มุมมองที่จำกัดเกี่ยวกับความหมายแฝงเชิงอุดมคติและลักษณะทางศิลปะของบทกลอนจีนในต่างประเทศ พบว่าความหมายแฝงเชิงอุดมคติประกอบไปด้วย 4 ประการหลัก ได้แก่ การบรรยายภาพประวัติศาสตร์การต่อสู้ดิ้นรนของคนจีนโพ้นทะเล แสดงความคิดถึงและความรักชาติของชาวจีนโพ้นทะเล สรรเสริญคุณความดีเทพเจ้าตามความเชื่อแบบจีน และการเผยแพร่แนวคิดทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจีน พร้อมทั้งวิเคราะห์วรรณศิลป์ของกลอนที่ทำการศึกษา
บทความที่สิบ ได้นำเสนอผลการศึกษาสาเหตุและความหมายการสร้าง “A也A不到哪里去” โดยวิเคราะห์ผ่าน องค์ประกอบ ความหมาย ที่มาและสาเหตุ ผลการศึกษาและวิเคราะห์พบว่า จากโครงสร้างประโยคดังกล่าวได้เกิดและพัฒนามาจากโครงสร้างประโยค “V也V不到哪里去”
การแนะนำเบื้องต้นอาจไม่เพียงพอที่จะเน้นจุดสำคัญของแต่ละบทความในฉบับนี้ได้ ผู้อ่านสามารถติดตามเนื้อหาโดยละเอียดได้จากเนื้อหาในเล่มและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากวารสารฉบับนี้
ท้ายนี้ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ทุกท่านให้ความสนใจและให้การสนับสนุนวารสารฉบับใหม่ “วารสารจีนวิทยาและการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ”
เผยแพร่แล้ว: 2021-12-20