เกี่ยวกับวารสาร

วารสารสังคมศาสตร์ (Chulalongkorn University Journal of Social Science: CUJSS.) เป็นวารสารวิชาการของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำหนดประเภทบทความที่จะพิจารณาตีพิมพ์เป็น 3 ประเภท ดังนี้ (1) บทความวิจัย (Research article)  (2) บทความวิชาการ (Academic article) และ (3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book review)  ทั้งนี้ บทความที่ส่งมาตีพิมพ์กับวารสารฯต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน ออกเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (เดือนมิถุนายน และ เดือนธันวาคม) โดยทุกบทความจะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คนขึ้นไป ตามกระบวนการที่กองบรรณาธิการกำหนด

Focus and Scope (วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์)

วารสารสังคมศาสตร์ (Chulalongkorn University Journal of Social Science: CUJSS.) มีวัตถุประสงค์ เพื่อตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวกับ (1) บทความวิจัย (Research article)  (2) บทความวิชาการ (Academic article) และ (3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book review) โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และนักวิจัย รวมทั้ง ผู้ที่สนใจในประเด็นที่วารสารฯกำหนดไว้ ได้แก่

  • การเมืองการปกครอง (Politics and Government)
  • ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International relations)
  • สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (Sociology and Anthropology)
  • อาชญวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม (Criminology and Administration of Justice)
  • รัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration)
  • การพัฒนา (Development)

Peer Review Process (กระบวนการพิจารณาบทความ)

บทความวิจัย, บทความวิชาการ, และ บทวิจารณ์หนังสือ จะได้รับการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ (Peer-Reviewed Process) โดยใช้ระบบการประเมินแบบปกปิดชื่อผู้เขียน (Author) และ ผู้ประเมิน (double-blinded peer-reviewed process) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คนขึ้นไป 

Themes and Scopes (ประเด็นและขอบเขต) 

วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับพิจารณาบทความที่มีประเด็นและขอบเขตเนื้อหา ดังนี้  

 (1) การเมืองการปกครอง (Politics and Government)

 (2) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International relations)

 (3) สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (Sociology and Anthropology)

 (4) อาชญวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม (Criminology and Administration of Justice)  

 (5) รัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration)

 (6) การพัฒนา (Development)

Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)

  • ภาษาไทย
  • ภาษาอังกฤษ

Publication Frequency (กำหนดการตีพิมพ์)

วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี

  • ฉบับที่ 1 เดือนมิถุนายน
  • ฉบับที่ 2 เดือนธันวาคม

Publisher (เจ้าของวารสาร)

  • คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Articles Processing Charge (ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์)

  • ผู้แต่ง (Author) ต้องชำระค่าธรรมเนียมตีพิมพ์ (ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ) เป็นจำนวนเงินบทความละ 4,500 บาท (สี่พันห้าร้อยบาทถ้วน) ทั้งนี้ ทางวารสารฯจะม่คืนค่าธรรมเนียมการส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ไม่ว่าในกรณีใดๆ 

เงื่อนไขการชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ

  • ทางวารสารฯจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความจากผู้เขียนเมื่อบทความผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการวารสารฯให้ดำเนินการต่อในขั้นตอนของการประเมินผล (Review)เรียบร้อยแล้วโดยทางผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร (นางสาวอนงค์ กาญจนประภากุล) จะแจ้งให้ผู้เขียนชำระเงินต่อไป 

**ผู้แต่ง (Author) สามารถดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ตามขั้นตอนรายละเอียดที่ระบุด้านล่าง ดังนี้

การโอนเข้าบัญชีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย      

             ข้อมูลธนาคาร:

                ธนาคาร (Bank):   ไทยพาณิชย์ (Siam Commercial Bank: SCB.) 

                สาขา (Branch):   สภากาชาดไทย (Saphakachartthai)

               ชื่อบัญชี (Name Account):   คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  (Faculty of Political Science, Chulalongkorn University)

              เลขที่บัญชี (No.Account):   045-2-06661-0 

การออกใบเสร็จรับเงินและการจัดส่งใบเสร็จรับเงิน   

         ผู้เขียนแจ้งที่อยู่เพื่อการออกใบเสร็จรับเงิน และการจัดส่งใบเสร็จรับเงิน โดยสามารถเลือกช่องทาง การจัดส่ง คือ ทางไปรษณีย์ หรือ เป็นไฟล์ PDF.ทาง e-mail ตามแต่ผู้เขียนแจ้งความประสงค์

Publication Ethics (จริยธรรมการตีพิมพ์บทความ) (ดูรายละเอียดเพิ่มใน Publication ethics)

บทความที่ส่งมาตีพิมพ์กับทางวารสารฯหากส่วนหนึ่งของบทความมาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในคน สัตว์ ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนจากสถาบันที่ผ่านการรับรองสำนักงานมาตรฐานการวิจัยในคน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และเป็นไปตามกฏหมายสากลสำหรับการทดลองในสัตว์ทดลองต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์เช่นกัน และอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ.2558 โดยผู้เขียนสามารถส่งไฟล์หนังสืออนุมัติดังกล่าวเป็นไฟล์ PDF. Upload มาพร้อมการส่งไฟล์บทความ submit เข้าระบบเพื่อประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ หากบทความที่ส่งมาตีพิมพ์เป็นประเด็นหรือขอบเขตที่ไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในคน สัตว์ ตามเกณฑ์การวิจัยข้างต้น เช่น บทความทางปรัชญาการเมือง บทความวิเคราะห์เชิงสถิติ เป็นต้น จะได้รับการยกเว้นในส่วนของหนังสืออนุมัติ