การบังคับใช้กฎหมายไทยตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงอาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อม
DOI:
https://doi.org/10.61462/cujss.v54i2.3307บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติพัฒนาการแนวคิดและหลักพื้นฐานของพันธกรณีภายใต้ความตกลงอาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อมในประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนเพื่ออนุวัติการความตกลงอาเซียนดังกล่าว ศึกษามาตรการของการบังคับใช้กฎหมายไทยตามพันธกรณีตามความตกลงอาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อมและพันธกรณีตามความตกลงสิ่งแวดล้อมพหุภาคี (MEAs) วิเคราะห์กลไกบังคับใช้กฎหมายไทยและกลไกระงับกรณีพิพาททางด้านสิ่งแวดล้อมตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงอาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อมของประชาคมอาเซียนเปรียบเทียบกับสหภาพยุโรป รวมทั้งเสนอแนะนโยบายและมาตรการเพื่อพัฒนาปรับปรุงกฎหมายไทยในการอนุวัติตามความตกลงอาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อมให้มีการบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลในบริบทของประเทศไทยและประชาคมอาเซียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสารในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กับวิธีการประชุมสนทนากลุ่มย่อยในการรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานและผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งมีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยจำนวน 27 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ (2) กลุ่มหน่วยงานภาคเอกชน และ (3) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิภาควิชาการ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการตรวจสอบแหล่งข้อมูลแบบสามเส้า ในการเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้ง 3 กลุ่มตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา วิเคราะห์เชิงตรรกวิทยา และการวิเคราะห์เปรียบเทียบเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายไทยตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงอาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อม กลไกบังคับใช้กฎหมาย และกลไกระงับข้อพิพาทสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลในบริบทของประเทศไทยและประชาคมอาเซียน รวมทั้งยังได้จัดการประชุมสัมมนาวิชาการเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงสรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยได้ดำเนินการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงอาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค และการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ความความร่วมมืออาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อมและความตกลงสิ่งแวดล้อมพหุภาคี (MEAs) หากเกิดปัญหาข้อพิพาทสิ่งแวดล้อมตามพันธกรณีก็ยังมีกลไกบังคับใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยและสมาชิกอาเซียนอื่น กฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งกลไกระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงอาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียน คือ กลไกระงับข้อพิพาทภายใต้กฎบัตรอาเซียน ค.ศ. 2008 และพิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียน ค.ศ. 2004 รวมทั้งกลไกระงับข้อพิพาทในระดับโลก เช่น กลไกระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ หรือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
Downloads
References
Adisornmongkon, Rungnapa. 2016. “The Dispute Settlement Mechanism of Asean, Does It Work?” Payap University Journal 26 (2): 1–15. https://doi.org/10.14456/pyuj.2016.18.
AFoCO. 2022. “AFoCO | Asian Forest Cooperation Organization.” AFoCO. 2022. https://afocosec.org/.
ASEAN Legal Instruments. 1985. “ASEAN Agreement on the Conservation of Nature and Natural Resources.” https://agreement.asean.org/media/download/20161129035620.pdf.
ASEAN Secretariat. 1983. “ASEAN Ministerial Understanding on Fisheries Cooperation, Singapore, 22 October 1983.” https://asean.org/wp-content/uploads/images/2012/Economic/AMAF/Agreements/ASEAN%20Ministerial%20Understanding%20On%20Fisheries%20Cooperation.pdf.
ASEAN Secretariat. 2002. “ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution.” https://asean.org/wp-content/uploads/2021/01/ASEANAgreementonTransboundaryHazePollution-1.pdf.
ASEAN Secretariat. 2007. “ASEAN Statement on Strengthening Forest Law Enforcement and Governance (FLEG).” ASEAN Main Portal. November 1, 2007. https://asean.org/asean-statement-on-strengthening-forest-law-enforcement-and-governance-fleg/.
ASEAN Secretariat. 2015. “ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution – ASEAN Haze Portal.” January 20, 2015. https://hazeportal.asean.org/action/asean-agreement-on-transboundary-haze-pollution/.
ASEAN Secretariat. 2016. “Project on Strengthening Technical Competency for Consumer Protection in ASEAN.” https://asean.org/wp-content/uploads/2021/01/Environment.pdf.
ASEAN Secretariat. 2018. “ASEAN Cooperation on Environment at a Glance.” https://asean.org/wp-content/uploads/2018/02/50.-December-2017-ASEAN-Cooperation-on-Environment-At-A-Glance.pdf.
ASEAN Secretariat. 2020. ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response (AADMER) Work Programme 2021-2025. Jakarta, Indonesia. https://asean.org/wp-content/uploads/2021/08/AADMER-Work-Programme-2021-2025.pdf.
Bryden, David P. 1978. “Environmental Rights in Theory and Practice.” Minnesota Law Review 1111. https://scholarship.law.umn.edu/mlr/1111.
Centre for International Law. 1997. “1997 Memorandum of Understanding on ASEAN Sea Turtle Conservation and Protection.” https://cil.nus.edu.sg/wp-content/uploads/2019/02/1997-Memorandum-of-Understanding-on-ASEAN-Sea-Turtle-Conservation-and-Protection-1.pdf.
Centre for International Law. 2005. “The 2005 Agreement on the Establishment of the ASEAN Centre for Biodiversity.” https://cil.nus.edu.sg/wp-content/uploads/2019/02/2005-Agreement-on-the-Establishment-of-the-ASEAN-Centre-for-Biodiversity-1-1.pdf.
Mallikamarl, Sunee. 1999. The Law Enforcement of Environment Law. 2nd ed. Bangkok, Thailand: Nititham Publishing. (in Thai)
Naldi, Gino J. 2014. “The ASEAN Protocol on Dispute Settlement Mechanisms: An Appraisal.” Journal of International Dispute Settlement 5 (1): 105–38. https://doi.org/10.1093/jnlids/idt031.
Nilprapunt, Pakorn. 2014. “Recommendations Regarding Policies and Strategies for Drafting, Amending or Repealing Laws to Support Entry into the ASEAN Economic Community.” Chulniti Journal 11 (1): 59–71. (in Thai)
Office of the Permanent Secretary, Ministry of Natural Resources and Environment. 2004. Executive Summary Report: Project Implementation of Agenda 21 and Sustainable Development. Bangkok, Thailand: Bureau of International Cooperation on Natural Resources and Environment. (in Thai)
Pak Nam Pran Subdistrict Administrative Organization. 2022. “Agreement on the Establishment of the ASEAN Centre for Biodiversity.” 2022. https://www.paknampran.go.th/wp/166567. (in Thai)
Phan, Hao. 2013. “Towards a Rules-Based ASEAN: The Protocol to the ASEAN Charter on Dispute Settlement Mechanisms.” Arbitration Law Review 5 (1): 254–76.
Srethasirote, Buntoon. 2011. “Research Project: Knowledge and Strategies Development on Multilateral Environmental Agreements, Phase 3: Trade and Environment in Global Warming.” Thailand Research Fund. (in Thai)
Termudomchai, Natthada. 2016. “ASEAN Dispute Settlement Mechanism: A Study of Its Ineffectiveness in Resolving Economic Disputes.” AU Law Journal 7 (2): 28–57. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.