การศึกษาทางการเมืองเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

ผู้แต่ง

  • ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

DOI:

https://doi.org/10.61462/cujss.v48i2.746

คำสำคัญ:

การศึกษาทางการเมือง, ความเป็นพลเมือง, ระบอบประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

การศึกษาทางการเมืองเป็นกระบวนการการเรียนรู้ของมนุษย์ที่จะส่งเสริมให้สามารถแสวงหาเอกลักษณ์ทางปัญญา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ อุดมการณ์ทางการเมืองรวมทั้งยังเป็นกระบวนการของการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการโต้ตอบหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ในชีวิตจริงของแต่ละวัน เพื่อช่วยทำให้เกิดสติปัญญา มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบในระบบการเมืององค์ประกอบของการศึกษาทางการเมืองแบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ ประการแรกความรู้ทั่วไป ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารพื้นฐานที่เป็นเงื่อนไขจำเป็นต่อการทำความเข้าใจในมิติต่างๆทางการเมืองประการที่สองทักษะ ได้แก่ ความสามารถในการประมวลข้อมูลข่าวสารเพื่อทำการวิเคราะห์และประเมินแนวทางในการตัดสินใจทางการเมืองได้อย่างลึกซึ้ง และ ประการที่สาม ทัศนคติ ในการวิเคราะห์ข่าวสารข้อมูลทางการเมืองอย่างรอบด้านและพินิจพิจารณาให้ทั่วถ้วนลึกซึ้งก่อนที่จะเชื่อตาม หรือนำมาประกอบการตัดสินใจ การศึกษาทางการเมืองจึงต้องสอดรับกับชีวิตในสังคม สถานศึกษาจำลองหรือย่อส่วนสังคมมาไว้ในสถานศึกษา  โดยจำลองแบบอย่างที่ดีงามของชีวิต โดยจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียนแต่ละกลุ่มอายุ ต้องมีการสร้างบรรยากาศความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษา ให้เด็กรู้จักลักษณะพื้นฐานทั่วไปของสังคม สร้างบรรยากาศให้เด็กได้มีการเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่และมุ่งให้สังคมดีขึ้น สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน เน้นเป้าหมายของประชาธิปไตยคือการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

Downloads

Download data is not yet available.

References

Chai-anan Samudavanija, and Jorg M. Frohlich. 1990. Kansueksa Thang Kanmueang: Naeokhit Lae Withikan Chatkan. [Political Education: Concept and Methods of Management]. Bangkok: Institute of Public Policy Studies. (in Thai)

Hahn, Carole L. 1999. “Challenges to Civic Education in the United States.” In Civic Education Across Countries: Twenty-Four National Case Studies from the IEA Civic Education Project, edited by Judith Torney-Purta, John Schwill and Jo-Ann Amadeo. Amsterdam: International Association for the Evaluation of Educational Achievement.

Kittachet Krivart, Anujit Chinnasarn, Chalerm Gerdmoli, Sakun Wongkalasin, Chaiwat Ranglek, and Arpaporn Sookhom. 2016. Kansueksa Rupbaep Kan Hai Kansueksa Thang Kanmueang Phuea Sang Khwam Pen Phonlamueang Civic education) Nai Rabop Prachathippatai An Mi Phramahakasat Song Pen Pramuk. [A Study of the Form of Civic Education for Democratic Government with a Monarch as Head of State]. Bangkok: Civil Political Development Fund, Office of Political Development Council, King Prajadhipok’s Institute. (in Thai)

Manat Suwan, Kangsadal Kanokhong, and Surasing Saengsode. 2016. Rupbaep Kan Hai Kansueksa Thang Kanmueang Phuea Sang Khwam Pen Phonlamueang Nai Rabop Prachathippatai An Mi Phramahakasatri Song Pen Pramuk: Sueksa Korani Changwat Chiang Mai. [A Study of the Form of Civic Education for a Democratic System with a Monarch as Head of State: A Case of Chiang Mai Province]. Bangkok: Civil Political Development Fund, Office of Political Development Council, King Prajadhipok’s Institute. (in Thai)

Matto, Elizabeth C., Alison Rios Millett McCartney, Elizabeth A. Bennion, and Dick Simpson. 2017. Teaching Civic Engagement Across the Disciplines. Washington DC: The American Political Science Association.

Otsu , Kazuko, 2000. “Civic Education in Japan: Values Promotion in the School Curriculum” Asia Pacific Journal of Education 20(1): 53-62.

Parinya Tevanaroumitkul. 2012. Kansueksa Phuea Sang Phonlamueang (Civic Education). [Civic Education]. Bangkok: Nanmeebooks Publications. (in Thai)

Thipphaphon Tantisunthon. 2010. “Pai Du Civic Education Thi Yoeraman.” [Where I Went to See Civic Education in Germany]. Patirup Kanmueang-Krachai Amnat. [Political Reform-Decentralization] Institute of Public Policy Studies, Monthly Newsletter Edison Press Products Ltd. Bangken Bangkok, July: 5-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-09-2022

How to Cite

เสรีรังสรรค์ ธีรภัทร์. 2022. “การศึกษาทางการเมืองเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย”. วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 48 (2). Bangkok, Thailand:31-52. https://doi.org/10.61462/cujss.v48i2.746.