การวิเคราะห์เชิงสถาบันของระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับอุทกภัยในประเทศไทย: กรณีศึกษา อุทกภัยจากอิทธิพลพายุโซนร้อนปาบึก พ.ศ. 2562 ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ธวัฒชัย ปาละคะมาน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.61462/cujss.v52i2.899

คำสำคัญ:

การจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ, การวิเคราะห์เชิงสถาบัน, ระบบเตือนภัยล่วงหน้า, พายุโซนร้อนปาบึก, นครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทบทวนบริบทและแนวคิดระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับอุทกภัยที่มีในประเทศไทยและต่างประเทศ 2) ศึกษาการบริหารจัดการของระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับอุทกภัยของประเทศไทยในเหตุการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลพายุโซนร้อนปาบึกในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการเสริมสมรรถนะกลไกเชิงสถาบันของระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับอุทกภัยของประเทศไทยในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งมีการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิธีเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า 1) ประเทศไทยมีหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อดำเนินการด้านการเตือนภัยจำนวนมาก แต่มีการดำเนินการเตือนภัยที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลโดยเฉพาะในหน่วยงานระดับส่วนกลาง 2) ภาพรวมของเครือข่ายการเตือนภัยล่วงหน้าอยู่ในลักษณะการผสมผสานระหว่างเครือข่ายตารางแบบบางส่วนกับเครือข่ายที่เข้าถึงได้หลายช่องทางที่ไม่สมบูรณ์ บ่งชี้ว่า 2.1) เครือข่ายขาดการกำหนดบทบาทหน้าที่และทิศทางอย่างเป็นทางการจึงทำให้สมาชิกในเครือข่ายมีปฏิสัมพันธ์กันในระดับต่ำ 2.2) สมาชิกในเครือข่ายไม่มีการดำเนินกิจกรรมด้านการเตือนภัยล่วงหน้าเป็นการเฉพาะพอที่จะก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ส่งผลให้เครือข่ายขาดความเหนียวแน่น และ 2.3) เครือข่ายในระดับท้องถิ่นขาดการเชื่อมโยงกับกลไกการเตือนภัยล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ 3) เสนอให้มีการกำหนดให้มียุทธศาสตร์การเตือนภัยล่วงหน้าเป็นการเฉพาะที่กำหนดความสัมพันธ์เชิงอำนาจอย่างเป็นทางการของหน่วยงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน ตลอดจนกำหนดกลไกการติดตาม การประเมินผล และการพิจารณางบประมาณด้านการเตือนภัยที่มีเอกภาพทั้งประเทศ ตลอดจนกำหนดกลไกและการเตรียมพร้อมด้านการเตือนภัยในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมในแผนการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น และจัดให้มือคู่มือมาตรฐานปฏิบัติการด้านการเตือนภัย

Downloads

Download data is not yet available.

References

American Meteorological Society. 2012. “Rain.” In Glossary of Meteorology. Boston, MA: The Society. Accessed April 19, 2021. https://glossary.ametsoc.org/wiki/Rain.

Brazzola, Nicoletta, and Simon Helander. 2018. Five Approaches to Build Functional Early Warning Systems. Istanbul: United Nations Development Programme (UNDP) Europe.

Department of Disaster Prevention and Mitigation. 2020a. Rai-ngan Sathanakan Satharanaphai Pracham Wan: Wanthi 6 Makarakhom 2562. [Daily Public Hazards Report on the 6th of January 2019]. Bangkok: Department of Disaster Prevention and Mitigation. (in Thai)

-----. 2020b. Rai-ngan Sathanakan Satharanaphai Pracham Wan: Wanthi 8 Makarakhom 2562. [Daily Public Hazards Report on the 8th of January 2019]. Bangkok: Department of Disaster Prevention

and Mitigation. (in Thai)

Department of Disaster Prevention and Mitigation. Provincial Office of Nakhon Si Thammarat. 2018. Phaenkan Pongkan Lae Banthao Satharanaphai Changwat Nakhon Si Thammarat. [Provincial Disaster Prevention and Mitigation Plan]. Nakhon Si Thammarat: Department of Disaster Prevention and Mitigation. (in Thai)

Garcia, Carolina, and Carina Fearnley. 2012. “Evaluating Critical Links in Early Warning Systems for Natural Hazards.” Environmental Hazards 11(2): 123-137.

Hydro-Informatics Institute. 2019. “Banthuek Hetkan Namthuam Chak Itthiphon Khong Phayu Zone Ron Pa Buek (PABUK).” [Record of Flooding Situation Caused by the Pabuk Tropical Storm (PABUK)]. Accessed November 25, 2020. https://tiwrm.hii.or.th/current/2019/pabuk/pabuk 2019.html. (in Thai)

Ikeda, Makoto, and Thawatchai Palakhamarn. 2020. Economic Damage from Natural Hazards and Local Disaster Management Plans in Japan and Thailand. Jakarta: Economic Research Institute for ASEAN and East Asia (ERIA).

Meteorological Department. 2019a. “Prakat Krom-utuniyomwitthaya Rueang Phayu ‘Pa Buek’ (PABUK) Chabap Thi 5 (3/2562). [Announcement of the Meteorological Department on the Pabuk Tropical Storm Issue 5 (3/2019)]. Accessed November 14, 2020. http://rbpho.moph.go.th/eoc2020/2562/pm/pdf/3/05.2019-01-01_17115.pdf. (in Thai)

-----. 2019b. “Phayu Mun Khet RonThi Khluean Khaosu Prathet Thai Rai Duean Khap 68 Pi (Pho So 2494-2561).” [Statistics of Tropical Storms in Thailand from 1951 to 2018]. Accessed July 5, 2021. http://climate.tmd.go.th/content/file/1067. (in Thai)

National Disaster Prevention and Mitigation Committee. 2015. “Phaenkan Pongkan Lae Banthao Satharanaphai Haeng Chat Pho So 2558.” [National Disaster Prevention and Mitigation Plan B.E.2558 (2015)]. Bangkok: Department of Disaster Prevention and Mitigation. (in Thai)

Office of the Prime Minister. 2005. “Rabiap Samnak Nayokratthamontri Wa Duai Kan Borihan Rabop Tuean Phai Haeng Chat Pho So 2548.” [Regulations of the Office of the Prime Minister on National Early Warning System B.E.2548 (2005)]. Bangkok: Secretariat of the Prime Minister Publisher. (in Thai)

Raadgever, G.T. (Tom), Nikeh Booister, and Martijn K. Steenstra. 2018. “Flood Risk Governance” In Flood Risk Management Strategies and Governance, edited by Tom Raadgever and Dries Hegger, 101-108. Cham: Springer.

Somporn Khunwichit. 2018. Khwamru Bueangton Kiaokap Kan Chatkan Satharanaphai Baep Betset. [Introduction to Comprehensive Public Disaster Management]. Songkla: Department of Public Administration, Faculty of Management Sciences, Prince of Songkla University. (in Thai)

Tavida Kamolvej. 2014. “Has Thailand Disaster Management, from Tsunami to Flood, Been Better?” Journal of Politics and Governance 4(2): 103-119.

United Nations. 2015. Sendai Framework for Disaster Risk Reduction 2015-2030. Geneva: United Nations International Strategy for Disaster Reduction (UNISDR).

-----. 2009. 2009 UNISDR Terminology on Disaster Risk Reduction. Geneva: United Nations International Strategy for Disaster Reduction (UNISDR).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-10-2022

How to Cite

ปาละคะมาน ธวัฒชัย. 2022. “การวิเคราะห์เชิงสถาบันของระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับอุทกภัยในประเทศไทย: กรณีศึกษา อุทกภัยจากอิทธิพลพายุโซนร้อนปาบึก พ.ศ. 2562 ในจังหวัดนครศรีธรรมราช”. วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 52 (2). Bangkok, Thailand:55-79. https://doi.org/10.61462/cujss.v52i2.899.