การบริหารจัดการภัยพิบัติภายใต้ยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2564): กรณีศึกษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วรัชยา เชื้อจันทึก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.61462/cujss.v52i2.907

คำสำคัญ:

ภัยพิบัติ, การบริหารจัดการภัยพิบัติ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการภัยพิบัติภายใต้ยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2564) และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการภัยพิบัติภายใต้ยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2564) ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม (questionnaire) กับ 1) บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือตัวแทน ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จำนวน 104 คน 2) บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน จำนวน 60 คน 3) ตัวแทนชุมชน จำนวน 140 คน รวมทั้งสิ้น 304 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าระดับการบริหารจัดการภัยพิบัติภายใต้ยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2564) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.06, S.D. = 0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การพัฒนาศักยภาพระบบการเตรียมพร้อม (  = 4.15, S.D. = 0.54) รองลงมาคือ การเสริมสร้างความร่วมมือการเตรียมพร้อมรับมือ ( = 4.06, S.D. = 0.60) การบริหารจัดการแผนแบบบูรณาการ ( = 4.02, S.D. = 0.66) และการเสริมสร้างศักยภาพของทุกภาคส่วน ( = 3.89, S.D. = 0.43) ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการภัยพิบัติภายใต้ยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2564) ได้แก่ การเสริมสร้างศักยภาพของทุกภาคส่วน ประกอบด้วยการเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเสริมสร้างศักยภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน การเสริมสร้างศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และการเสริมสร้างศักยภาพของประชาชน

Downloads

Download data is not yet available.

References

Baas, Stephan, Selvaraju Ramasamy, Jennie Dey de Pryck, and Federica Battista. 2008.

Disaster Risk Management Systems Analysis: A Guide Book. Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations. Accessed March 16, 2020. http://www.fao.org/ 3/i0304e/i0304e.pdf.

Capano, Giliberto. 2020. “Policy Design and State Capacity in the COVID-19 Emergency in Italy: If You Are Not Prepared for the (Un)expected, You Can Be Only What You Already Are.” Policy and Society 39(3): 326-344.

Coppola, Damon P. 2007. Introduction to International Disaster Management. Oxford: Butterworth Heinemann.

Dayrit, Manuel M., and Ronald Umali Mendoza. 2020. “Social Cohesion vs COVID-19.” International Journal of Health Governance 25(3): 191-203.

Mazzucato, Mariana, and Rainer Kattel. 2020. “COVID-19 and Public-Sector Capacity.” Oxford Review of Economic Policy 36(Supplement 1): S256-S269.

Newell, Robert, and Ann Dale. 2020. “COVID-19 and Climate Change: An Integrated Perspective.” Cities and Health. Accessed April 10, 2021. https://www.tandfonline.com/ doi/full/10.1080/23748834.2020.1778844?scroll=top& needAccess=true.

“Phraratchabanyat Pongkan Lae Banthao Satharanaphai Pho So 2550.” [Disaster Prevention and Mitigation Act 2007]. 2007. Government Gazette 124(52 Gor): 1-23. Accessed March 18, 2021.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/ 2550/A/052/1.PDF. (in Thai)

Quach, Ha-Linh, and Ngoc-Anh Thi Hoang. 2020. “COVID-19 in Vietnam: A Lesson of Pre-Preparation.” Journal of Clinical Virology 127(June): 104379. Accessed April 10, 2021. https://doi.org/10.1016/j.jcv.2020.104379.

Thailand. Ministry of Public Health. 2020. Naeothang Patibat Dan Satharanasuk Phuea Kan Chatkan Phawa Rabat Khong Rok Covid-19 Nai Khokamnot Ok Tam Khwam Nai Mattra 9 Haeng Phraratchakamnot Kan Borihan Ratchakan Nai Sathanakan Chukchoen Pho So 2548 (Chabap Thi 1). [Public Health Practices for the Management of Outbreaks of COVID-19 in Regulations Issued under Section 9 of the Emergency Decree on Public Administration in Emergency Situations, B.E. 2548 (No. 1). Bangkok: The Ministry. Accessed March 18, 2021. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ file/g_other/g_other 02.pdf. (in Thai)

Thailand. Office of the National Security Council. 2017. Yuthasart Karn Triam Phrom Haeng Chart (Pho So 2560-2564). [National Preparedness Strategy (2017-2021 AD)]. Accessed March 18, 2021. http://plan.uru.ac.th/budget61/ yuttasat2561/ y2560_2564.pdf. (in Thai)

Wu, Jiang, Kaili Wang, Chaocheng He, Xiao Huang, and Ke Dong. 2021. “Characterizing the Patterns of China's Policies against COVID-19: A Bibliometric Study.” Information Processing and Management 58(4): 1-20. Accessed March 18, 2021. https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0306457321000650.

Xuan Tran, Bach, Hien Thi Nguyen, Hai Quang Pham, Huong Thi Le, Giang Thu Vu, Carl A. Latkin, Cyrus S.H. Ho, and Roger C.M. Ho. 2020. “Capacity of Local Authority and Community on Epidemic Response in Vietnam: Implication for COVID-19 Preparedness.” Safety Science 130(October). Accessed March 18, 2021. https://www.sciencedirect. com/ science/article/abs/ pii/S0925753520302642.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-10-2022

How to Cite

เชื้อจันทึก วรัชยา. 2022. “การบริหารจัดการภัยพิบัติภายใต้ยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2564): กรณีศึกษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา”. วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 52 (2). Bangkok, Thailand:106-22. https://doi.org/10.61462/cujss.v52i2.907.