ปัจจัยที่มีผลต่อการประยุกต์นโยบาย ส่งเสริมความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมของอาเซียน

ผู้แต่ง

  • สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ณัฐพร ไทยจงรักษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จุฬาภรณ์ ขอบใจกลาง ศูนย์อาเซียนและเอเชียศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.61462/cujss.v46i1.1192

คำสำคัญ:

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม, โรงเรียนโครงการSpirit ofASEAN, การตระหนักรู้, โรงเรียนในเมือง, โรงเรียนชนบท

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาการนำนโยบายไปประยุกต์ใช้ของโรงเรียนในโครงการ Spirit of ASEAN ของ สพฐ. โดยศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสถานศึกษา และเสนอแนวทางในการประยุกต์นโยบายส่งเสริมความหลากหลายวัฒนธรรมของอาเซียนโดยผ่านผู้บริหาร ครูอาจารย์ นักเรียน และผู้ปกครอง/ชุมชน

จากผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนในโครงการ Spirit of ASEAN มีความรู้ ความตระหนัก และความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยผ่านหลักสูตรอาเซียน การเรียนการสอน ภาษาต่างประเทศ กิจกรรมการเรียนการสอน การสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนในประเทศอาเซียน และ การมีศูนย์อาเซียนของตนเอง ในส่วนของปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประกอบด้วยปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ การตระหนักรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ของประชากรที่ศึกษา กลุ่มที่ 1 ผู้บริหาร พบปัจจัยสำคัญด้านการบริหารสถานศึกษาซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย กลุ่มที่ 2 ครู/อาจารย์ เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านการเรียนการสอนที่จะต้องถ่ายทอดคทวามรู้ด้านความหลากหลายทาง วัฒนธรรมให้กับนักเรียน กลุ่มที่ 3 นักเรียน เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้เรียนซึ่งนักเรียนต้อง เปิดใจยอมรับความแตกต่าง และกลุ่มที่ 4 ผู้ปกครอง/ชุมชน เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมโดยการให้ความร่วมมือกับโรงเรียนเมื่อมีการจัดกิจกรรมต่างๆ และการร่วมในการกำหนดนโยบายในสถานศึกษาในส่วนของแนวทางการประยุกต์นโยบายส่งเสริมความหลากหลายวัฒนธรรมของอาเซียนสามารถแบ่งออกได้ 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 การพัฒนาโรงเรียนในเมือง (Urban model) มีความหลากหลาย ด้านโครงสร้าง ประชากร อาชีพ เชื้อชาติ ศาสนา ดังนั้น ควรใช้ประโยชน์จากการเข้าถึงสื่อ และความสะดวกด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ในด้านการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรม รูปแบบที่ 2 การพัฒนาโรงเรียนในชนบท (Rural model) ควรใช้ทุนทางวัฒนธรรมให้เป็นประโยชน์

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

Bodaar, Annemarie. 2008. Cities and the “Multicultural State”: Immigration, multi-ethnic neighborhoods, and the socio-spatial negotiation of policy in the Netherlands. PhD. diss., The Ohio State University.

Breslin, Shaun. 2007. Theorising East Asian regionalism(s): New regionalism and Asia’s future(s). London: Routledge.

Chaleaw Thuenphao. 2011. Karn damnernngan triam khwamprom su prachakom ASEAN khong rongrian kruakrai soon ASEAN suksa sangkat samnakngan khate puentee karn suksa prathom suks Ratchaburi khate 1. [The preparation to the ASEAN community, network of ASEAN studies centre, Primary Educational Service Area Offif ice 1, Ratchaburi area]. Master’s thesis, Educational Administration, Faculty of Education, Muban Chombueng Rajabhat University. (in Thai)

Chanchari Katemaro. 2013. Achiwa anamai. [Occupational health]. 2nd ed. Bangkok: Ramkhamhaeng University.

(in Thai)

Choophinit Katemanee. 2003. Karn suksa phahu watthanatham nai pratate Thai: Sathanakarn lae khwam penpaidai. [Multicultural education in Thailand: Situation and possibilities]. https://www.gotoknow. org/posts/250376 (Accessed on November 20, 2014) (in Thai)

Declaration on Asean unity in cultural diversity. 2011. http://www.asean.org/archive/documents/ 19th%20summit/ Culture.pdf (Accessed on December 15, 2014).

Naruemon Mula. 2009. Khwam phuengphochai nai karn patibat ngan khong kru rongrian prathom suksa sangkat samnakngan khate puentee karn suksa Sakaeo. [Satisfaction in the performance of primary school teachers, Sakaeo Educational Service Area Office]. Master’s thesis, Faculty of Education, Burapha University. (in Thai)

Opas Kaosaiyaphorn. 2011. Karn phatthana roopbaeb kruakrai sangkom chueng samuen samrab hongrian phahu watthanatham pua karn sang khwamroo lae khwam tranak nai kunka thang watthanatham samrab nisit naksuksa radab banditsuksa. [Development of a virtual network model for multicultural classrooms to enhance knowledge construction and cultural awareness for graduating students]. Master’s thesis, Faculty of Education, Chulalongkorn University. (in Thai)

Panithee Brown. 2014. Phate saphawa phatewithi kab phahu watthanatham. [Gender, sexuality and multiculturalism]. Sexuality Studies Journal 3(1): 23-49. (in Thai)

Phakkarat Sithi. 2001. Khwam samphan rawang bukkalikkaphab kab karn prab plian krabuanthat watthanatham lae khaniyom nai karn thamngan khong chaonhathee khong rhat tam tuabaeb I AM READY khong nhueyngan ratchakarn boriharn suan phumiphak sangkat krasuang mahatthai changwat Chiang Mai. [The relationship between personality and paradigm shift, culture and work value of public officer based on I AM READY model of Provincial Bureaus of Ministry of Interior, Chiang Mai province]. Master’s independent study, Faculty of Political Science and Public Administration, Chiang Mai University. (in Thai)

Raihani, Wahdah. 2011. Education for multicultural citizens in Indonesia: Policies and practices. http://socsc.smu.edu.sg/ sites/default/files/socsc/pdf/raihani.pdf (Accessed on June 18, 2015).

Smith, Patriann. 2013. Accomplishing the goals of multicultural education. Curriculum and Teaching Dialogue 15(1):

-40.

Thailand. Ministry of Education. 2015? Karnsuksa: Karn sang prachakomASEAN 2015 [Education: Building the ASEAN community in 2015]. http://61.19.238.229/dsdw2011/doc_pr/20130403161459.pdf (Accessed on September 12, 2015) (in Thai)

Thailand. Ministry of Education. Off ifice of the Basic Education Commission. 2012. Kumue karn damnernngan krongkarn phatthana su prachakom ASEAN (Spirit of ASEAN). [ASEAN curriculum sourcebook (Spirit of ASEAN)]. Bangkok: Ministry of Education. (in Thai)

Thailand. Ministry of Foreign Affairs. 2009. Phan ngan karn chattang prachakom sangkom lae watthanatham ASEAN. [ASEAN socio-cultural community blueprint]. http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/ customize-20121218-094710-341214.pdf (Accessed on January 5, 2014) (in Thai)

Thitimdee Aphatthananont. 2014. Suksa wichai chueng ekkasarn kiewkab nueha khwam pen phahu watthanatham nai baebrian Thai. [Multicultural content in Thai textbooks]. Journal of Mekong Societies 9(1): 107-130. (in Thai)

Tortrakul Boonploog et al. 2013? Karn triam khwamprom dan karnchatkarn rianroo khong kru lae phoo boriharn sathansuksa su khwam pen prachakom ASEAN nai pi 2015: Korani suksa rongrian ban wiang phan nai sangkat samnakngan khate puentee karn suksk prathom suksa Chaing Rai khate 3. [Preparation of teachers and administrators in education to learning towards the ASEAN community by the year 2015: Case study of Wiengphan school, Primary Educational Service Area Office 3, Changrai area]. Master’s project, School of Liberal Arts, Mae Fah Luang University.

(in Thai)

The United Church of Canada. 2014. Defining multicultural, cross-cultural, and intercultural. http://www.united church.ca/files/intercultural/Multicultural-crosscultural-intercultural.pdf (Accessed on December 16, 2014).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-12-2022

How to Cite

ธำรงธัญวงศ์ สมบัติ, ไทยจงรักษ์ ณัฐพร, และ ขอบใจกลาง จุฬาภรณ์. 2022. “ปัจจัยที่มีผลต่อการประยุกต์นโยบาย ส่งเสริมความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมของอาเซียน”. วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 46 (1). Bangkok, Thailand:161-80. https://doi.org/10.61462/cujss.v46i1.1192.