“ภูมิภาคนิยม” แบบใดเป็นคำตอบสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้?—การสร้างนิทรรศการศิลปะในเวลาแห่งโลกาภิวัตน์และนโยบายเสรีนิยมแนวใหม่

ผู้แต่ง

  • รัฐศรัณย์ สิรีกัญจน์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ University College London (UCL)

DOI:

https://doi.org/10.61462/cujss.v46i2.1205

คำสำคัญ:

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภูมิภาคนิยม โลกาภิวัตน์ ลัทธิเสรีนิยมแนวใหม่ การสร้างองค์ความรู้ผ่านการออกเเบบนิทรรศการ บทบาทของศิลปะและวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้ศึกษาการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “ภูมิภาคนิยม” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รูปแบบต่างๆ ที่แสดงออกผ่านการออกแบบนิทรรศการศิลปะที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวบทความตั้งคำถามว่าการออกเเบบนิทรรศการ Concept Context Contestation ของ Iola Lenzi ที่แม้จะแสดงบทบาททางการเมืองแต่อยู่บนพื้นฐานของความคิดแบบรัฐชาตินั้นเป็นคำตอบสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือไม่โดยเฉพาะเมื่อการรวมกลุ่มดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานของการปฏิสัมพันธ์ข้ามชาติจากนั้นบทความศึกษาการออกแบบนิทรรศการ Missing Links โดยกฤติยา กาวีวงศ์เพื่อชี้ให้เห็นว่ากฤติยาใช้การมีปฏิสัมพันธ์ข้ามชาติในการนิยาม“ภูมิภาคนิยม”อย่างไรก็ดี ในมุมมองของฝ่ายซ้าย การมีปฏิสัมพันธ์ข้ามชาติก็มีปัญหาในตัวเองกล่าวคือในเมื่อการมีขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นการรวมกลุ่มประเทศด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจเป็นหลักและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแผ่ขยายไปทั่วโลกของลัทธิทุนนิยมแบบเสรีนิยมแนวใหม่ บทความตั้งคำถามว่าเรื่องราวการย้ายถิ่นฐานและการเคลื่อนที่ที่ Missing Links เสนอนั้นมีนัยรับใช้กิจกรรมข้ามชาติภายใต้ลัทธิโลกาภิวัตน์ และทุนนิยมแบบเสรีนิยมแนวใหม่ในฐานะปัจจัยการผลิตหรือไม่หรือว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการต่อต้าน

Downloads

Download data is not yet available.

References

Bangkok Art and Culture Centre. 2014. Concept context contestation: Art and the collective in Southeast Asia. Bangkok: Bangkok Art and Culture Centre.

Gaweewong, Gridthiya. 2015. Missing Links. Jim Thompson Art Centre. Exhibition, http://www.jimthompsonhouse.com/events/index.asp. (Accessed on March 2016)

Hardt, Michael and Antonio Negri. 2000. Empire. Harvard University Press.

Jitsuchon, Somchai. 2012. ASEAN Economic Community: Myths, reality, potentials and challenges. Thailand Development Research Institute (TDRI), http://tdri.or.th/wp-content/uploads/2012/11/paper_4-SJ_Ye20121.pdf. (Accessed on March 2016)

Léger, Marc James. 2012. Art and art history after globalization. Third Text, 26(5): 515-527.

Lenzi, Iola. 2014. Conceptual strategies in Southeast Asian art—a Local Narrative. Concept context contestation: Art and the collective in Southeast Asia. Bangkok: Bangkok Art and Culture Centre. 10-23.

Teh, David. 2014. Transmission. Jim Thompson Art Centre. Exhibition, http://www.jimthompson house.com/events/Transmission.asp. (Accessed on March 2016)

Yúdice, George. 2003. The Expediency of culture: Uses of culture in the global era. Durham, NC: Duke University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-12-2022

How to Cite

สิรีกัญจน์ รัฐศรัณย์. 2022. “‘ภูมิภาคนิยม’ แบบใดเป็นคำตอบสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้?—การสร้างนิทรรศการศิลปะในเวลาแห่งโลกาภิวัตน์และนโยบายเสรีนิยมแนวใหม่”. วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 46 (2). Bangkok, Thailand:51-62. https://doi.org/10.61462/cujss.v46i2.1205.