การศึกษาวิจัยกลไกการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่
DOI:
https://doi.org/10.61462/cujss.v51i1.693คำสำคัญ:
กลไกการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่, รูปแบบสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลุ่มอำเภอ, ผู้จัดการสาธารณภัย, การลดความเสี่ยงภัยบทคัดย่อ
ความพยายามให้เกิดการบริหารจัดการสาธารณภัยอย่างเป็นระบบเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่รัฐบาลวางแนวทางไว้ในการปฏิรูประบบราชการเมื่อปี พ.ศ. 2545 และนำไปสู่การก่อตั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยมีภารกิจหน้าที่ในการจัดทำแผนแม่บท วางมาตรการ ส่งเสริมสนับสนุน การป้องกัน บรรเทาและฟื้นฟูจากสาธารณภัย บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหากลไกการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่และเสนอตัวแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสม จากการวิจัยกรณีศึกษา 8 จังหวัด พบข้อจำกัดของการบริหารจัดการทั้งในแง่ระบบงาน กลไก และโครงสร้าง ผลการศึกษานำมาซึ่งข้อเสนอในการกำหนดกลไกการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่ 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด รูปแบบสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลุ่มอำเภอ และรูปแบบสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ โดยรูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่ตามหลักการบริหารจัดการเป็นรูปแบบสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลุ่มอำเภอ เพราะมีความชัดเจนในโครงสร้างการตอบสนองภารกิจเชิงความเชี่ยวชาญและฐานะของหน่วยงานเชิงอำนาจหน้าที่ อย่างไรก็ตาม ไม่มีรูปแบบใดดีที่สุดเพราะการประยุกต์ใช้ยังเกี่ยวพันกับสภาพพื้นที่และการเข้าถึง ลักษณะสาธารณภัย ประชากรและขอบเขตการปกครอง และศักยภาพของเครือข่าย นอกจากนี้การประยุกต์ใช้ยังต้องอาศัยขีดความสามารถของหน่วยปฏิบัติด้วย นำไปสู่ข้อเสนอแนะว่าขีดความสามารถของผู้จัดการสาธารณภัยเป็นเงื่อนไขของการพัฒนาการบริหารจัดการสาธารณภัย
Downloads
References
Harfst, Jan. 2006. A Practitioner's Guide to Area-Based Development Programming. New York: UNDP Regional Bureau for Europe and Commonwealth of Independent States.
Shah, Anwar, and Sana Shah. 2006. “The New Vision of Local Governance and the Evolving Roles of Local Governments.” In Local Governance in Developing Countries, edited by Anwar Shah, 1-46. Washington, DC: The World Bank.
Sisk, Timothy D. 2001. Democracy at the Local Level: The International IDEA Handbook on Participation, Representation, Conflict Management, and Governance.Stockholm: International Institute for Democracy and Electoral Assistance.
Siriruk Sinhasema, Wasan Luangprapat, and Pattarawut Choeisiri. 2019. Kansueksa Wichai Konkai Kan Borihan Chatkan Satharanaphai Nai Radap Phuenthi. [The Study of the Disaster Management Mechanism in Area-Level]. Bangkok: Thammasat University Research and Consultancy Institute.
Tavida Kamolvej, Vannapar Tirasangka, Sikarn lssarachaiyos, and Parichat Krongkun. 2019. Kan Okbaep Mattrakan Mai Chai Choeng Khrongsang Nai Kan Lot Khwam Siang Phaiphibat Phaendinwai Lae Akhan Thalom Samrap Prathet Thai. [Non-Structural Measure Design of Earthquake Risk Reduction in Thailand]. Bangkok: The Thailand Research Fund. (in Thai)
Wasan Luangprapat, and Chai Chaiyachit. 2019. “‘Kan Aphiban’ (Governance) Nai Thana Manothat Thang Kan Borihanratthakit.” [‘Governance’ as a Concept of Public Administration]. Ratthasatsarn 39(3): 140-199. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เงื่อนไขการอนุญาตสาธารณะ
นโยบายลิขสิทธิ์และการอนุญาต
วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่เนื้อหาทั้งหมดภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 นานาชาติ (CC BY-NC-ND 4.0)
ลิขสิทธิ์
บทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนจะโอนสิทธิ์ทั้งหมดให้แก่วารสารเมื่อบทความได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์
สัญญาอนุญาต CC BY-NC-ND 4.0
ภายใต้สัญญาอนุญาตนี้:
-
แสดงที่มา (BY): ผู้ใช้ต้องแสดงที่มาโดยอ้างอิงถึงผู้เขียน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งให้ลิงก์ไปยังสัญญาอนุญาต และระบุหากมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้สามารถทำได้ในลักษณะที่สมเหตุสมผล แต่ต้องไม่ทำในลักษณะที่แสดงว่าผู้อนุญาตให้การรับรองผู้ใช้หรือการใช้งานดังกล่าว
-
ไม่ใช้เพื่อการค้า (NC): ผู้ใช้ไม่สามารถใช้เนื้อหาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า การใช้งานเชิงพาณิชย์จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าจากผู้เขียนและคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
ไม่ดัดแปลง (ND): หากผู้ใช้นำเนื้อหาไปรวม ดัดแปลง หรือต่อยอด ผู้ใช้ไม่สามารถเผยแพร่งานที่ดัดแปลงนั้นได้ การดัดแปลงผลงานจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าจากผู้เขียนและคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นโยบายการเข้าถึงแบบเปิด
วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้การเข้าถึงเนื้อหาแบบเปิดโดยทันทีตามหลักการที่ว่าการทำให้งานวิจัยสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีแก่สาธารณะจะสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ในระดับโลก ผู้ใช้สามารถอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก เผยแพร่ พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาฉบับเต็มของบทความได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้เขียน ทั้งนี้เป็นไปตามสัญญาอนุญาต CC BY-NC-ND 4.0
นโยบายการเก็บบันทึกด้วยตนเอง
ผู้เขียนสามารถเก็บบันทึกบทความฉบับตีพิมพ์สุดท้าย ต้นฉบับที่ส่ง (preprint) หรือฉบับที่ผ่านการประเมิน (postprint) ในคลังสถาบันหรือเว็บไซต์ส่วนตัวได้ โดยต้องมีการอ้างอิงการตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมระบุแหล่งอ้างอิงที่สมบูรณ์และลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของวารสาร
การขออนุญาต
สำหรับการใช้งานนอกเหนือจากที่ครอบคลุมโดยสัญญาอนุญาต CC BY-NC-ND 4.0 กรุณาติดต่อ:
กองบรรณาธิการ
วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: cusocscij@gmail.com
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 นานาชาติ กรุณาเยี่ยมชม: https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/deed.th