การเผาป่า และหมอกควันข้ามแดน: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศอินโดนีเซีย

ผู้แต่ง

  • พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์ คณะสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ภูมิ มูลศิลป์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

DOI:

https://doi.org/10.61462/cujss.v48i2.751

คำสำคัญ:

หมอกควันข้ามแดน, อินโดนีเซีย, อาเซียน, ระบบอุปถัมภ์, อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน

บทคัดย่อ

มลพิษจากหมอกควันข้ามแดนเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคอาเซียนซึ่งมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันในแต่ละปี สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการตัดไม้ทำลายป่า และเผาป่าไม้ในบริเวณพื้นที่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการถางพื้นที่เตรียมที่ดินไว้ใช้ในการเพาะปลูกพืชทางการเกษตร เช่น ไม้เนื้อแข็งเพื่อนำเยื่อไม้ไปทำกระดาษ ยางพารา และที่สำคัญอย่างยิ่งคือปาล์มน้ำมัน พื้นที่ที่ถูกเผาบางส่วนถูกเผาโดยชาวนาหรือชาวสวนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ แต่บางพื้นที่ที่ถูกเผาเป็นบริเวณกว้างอยู่ในเขตพื้นที่ของบริษัทที่ทำอุตสาหกรรมทางการเกษตรขนาดใหญ่ การเผาพื้นที่แบบผิดกฎหมายลักษณะนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอินโดนีเซีย หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเชื่อว่าเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาต้นเหตุของปัญหาหมอกควันข้ามแดนดังกล่าว โดยใช้ทฤษฎีระบบอุปถัมภ์ เพื่ออธิบายถึงต้นเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาหมอกควันของรัฐบาลอินโดนีเซียจากอดีตถึงปัจจุบัน และในบทสรุปสุดท้ายของการวิจัย ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ผลการวิจัยเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อนโยบายของประเทศไทยและอาเซียนในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันข้ามแดนในภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

Bloomberg. 2015. “Haze Affects Indonesia Flights, Worsens Air Quality in Singapore.” Accessed January 20, 2016. http://www.bloomberg.com/news articles/2015-09-08/haze-disrupts-flights-at-indonesia-airports-foulssingapore-air.

Directorate General of Estate Crops. 2015. Tree Crop Estate Statistics of Indonesia of Palm Oil. Jakarta: Directorate General of Estate Crops.

Hamilton-Hart, Natasha. 2001. “Anti-Corruption Strategies in Indonesia.” Bulletin of Indonesian Economic Studies 37(1): 65-82.

Hurst, P. 1987. “Forest Destruction in South East Asia.” Ecologist 17(1): 170-174.

Ross, M. L. 2001. Timber Booms and Institutional Breakdown in Southeast Asia. Cape Town: Cambridge University Press.

Tay, S. S. C. 2003. “Corruption after the Crisis: Governance, Asian Values, and International Instruments”. In The Enemy within: Combating Corruption in Asia, edited by S. S. C. Tay and M. Seda. Singapore: Eastern University Press.

The Jakarta Post. 2015. “Sumatra, Kalimantan Fire Investigations Progress, Arrests Made.” Accessed December 25, 2015. http://www. thejakartapost.com/news/2015/09/29/sumatra-Kalimantan-fire-investigations-progress-arrests-made.html #sthash.SUUzFF1X.dpuf.

TNN. 2015. “Mokkhwan Jak Faipa Indonesia Pokklum Phak Tai.” [Haze from Wildfire in Indonesia cover the Southern Region].Accessed January 15, 2016. http://www.tnnthailand.com/news_ detail.php?id=76217&t=news. (in Thai)

Wendy Wong. 2015. “Think-tank SIIA explores ways to map hotspots amid haze.” Accessed December, 2017. http://www.channelnewsasia.com/news/singapore/think-tank-siia-explores-ways-to-map-hotspots-amid-haze-8234960.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-09-2022

How to Cite

ศิริวรรณบุศย์ พรรณชฎา, และ มูลศิลป์ ภูมิ. 2022. “การเผาป่า และหมอกควันข้ามแดน: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศอินโดนีเซีย”. วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 48 (2). Bangkok, Thailand:137-56. https://doi.org/10.61462/cujss.v48i2.751.