ความหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
DOI:
https://doi.org/10.61462/cujss.v47i1.781คำสำคัญ:
กลุ่มชาติพันธุ์, การพัฒนา, เศรษฐกิจชายแดนบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) กลุ่มชาติพันธุ์มีบทบาทอย่างไรที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจชายแดนแม่สาย จังหวัดเชียงราย(2)เครือข่ายความสัมพันธ์ภายในระหว่างกัน ของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นอย่างไร (3) อะไรคือปัจจัย ที่ส่งผลต่อการบูรณาการทางสังคม ในพื้นที่ชายแดนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ผลการศึกษา พบว่าพื้นที่ชายแดนแม่สาย จังหวัดเชียงรายมีกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขิน ไทใหญ่ กลุ่มไทลื้อ และจีนยูนนาน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มจีนยูนนานมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ แม่สาย มากกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ทุกกลุ่มชาติพันธุ์มีเครือข่ายความสัมพันธ์ อย่างเหนียวแน่น ด้านกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรม และต่างพึ่งพาอาศัยกันเสมือนญาติและเพื่อน อย่างมีความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยกลุ่มชาติพันธุ์มั่นใจว่าสามารถอยู่ร่วมกันแบบบูรณาการและผสมกลมกลืนได้ทั้งภายในกลุ่มชาติพันธุ์และกับคนไทยในท้องถิ่น ซึ่งทุกกลุ่มต่างมีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่หลากหลายแตกต่างกัน
Downloads
References
AEC Information Center. Department of Trade Negotiations Ministry of Commerce. https://www.dtn.go.th/index.php/aec-information-center.html[Accessed on 15 December,2015]
Aut Pisalvanich.2016. Chiang Rai: Pratu settakij kankha Thai-Laos-Phama-Chine [Chiang Rai: Economic Gate of Thailand-Myanmar-China, and Laos]. Post Today, February 25http://www.posttoday.com/biz/aec/scoop/418196 (in Thai)(Accessed onDecember 15,2015)
Chaweewan Prajobmao. 1996. Glumcharthipan. [Ethnic group]. In Social textbook [Social Studies 4] 4th ed. Nonthaburi: Sukhothai Thammatirat University (in Thai)
Levine, Robert A., and Donald T. Campbell. 1972. Ethnocentrism: Theories of conflict, ethnic attitudes, and group behavior. New York: John Wiles &Sons.
Maesai Customs. 2015. Statistics of Maesai Border Tradehttp://www.maesaicustoms.com/index.php(Accessed on December 11,2015)
Nopparat Wongwitthayaphanit. 2011. KankaChaydan.[Border trade] http://www.tuhpp.net/files/FACT%20SHEET7.pdf (Accessed on August 10, 2016)
Prasit Leeprecha. 2013. Prahuvattanatham Niyom Jakrakya. [Multiculturalism in Poor Society]Academic Journal of Faculty of Social Science, Chiang Mai University25(2):59-109 (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เงื่อนไขการอนุญาตสาธารณะ
นโยบายลิขสิทธิ์และการอนุญาต
วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่เนื้อหาทั้งหมดภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 นานาชาติ (CC BY-NC-ND 4.0)
ลิขสิทธิ์
บทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนจะโอนสิทธิ์ทั้งหมดให้แก่วารสารเมื่อบทความได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์
สัญญาอนุญาต CC BY-NC-ND 4.0
ภายใต้สัญญาอนุญาตนี้:
-
แสดงที่มา (BY): ผู้ใช้ต้องแสดงที่มาโดยอ้างอิงถึงผู้เขียน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งให้ลิงก์ไปยังสัญญาอนุญาต และระบุหากมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้สามารถทำได้ในลักษณะที่สมเหตุสมผล แต่ต้องไม่ทำในลักษณะที่แสดงว่าผู้อนุญาตให้การรับรองผู้ใช้หรือการใช้งานดังกล่าว
-
ไม่ใช้เพื่อการค้า (NC): ผู้ใช้ไม่สามารถใช้เนื้อหาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า การใช้งานเชิงพาณิชย์จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าจากผู้เขียนและคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
ไม่ดัดแปลง (ND): หากผู้ใช้นำเนื้อหาไปรวม ดัดแปลง หรือต่อยอด ผู้ใช้ไม่สามารถเผยแพร่งานที่ดัดแปลงนั้นได้ การดัดแปลงผลงานจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าจากผู้เขียนและคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นโยบายการเข้าถึงแบบเปิด
วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้การเข้าถึงเนื้อหาแบบเปิดโดยทันทีตามหลักการที่ว่าการทำให้งานวิจัยสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีแก่สาธารณะจะสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ในระดับโลก ผู้ใช้สามารถอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก เผยแพร่ พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาฉบับเต็มของบทความได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้เขียน ทั้งนี้เป็นไปตามสัญญาอนุญาต CC BY-NC-ND 4.0
นโยบายการเก็บบันทึกด้วยตนเอง
ผู้เขียนสามารถเก็บบันทึกบทความฉบับตีพิมพ์สุดท้าย ต้นฉบับที่ส่ง (preprint) หรือฉบับที่ผ่านการประเมิน (postprint) ในคลังสถาบันหรือเว็บไซต์ส่วนตัวได้ โดยต้องมีการอ้างอิงการตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมระบุแหล่งอ้างอิงที่สมบูรณ์และลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของวารสาร
การขออนุญาต
สำหรับการใช้งานนอกเหนือจากที่ครอบคลุมโดยสัญญาอนุญาต CC BY-NC-ND 4.0 กรุณาติดต่อ:
กองบรรณาธิการ
วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: cusocscij@gmail.com
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 นานาชาติ กรุณาเยี่ยมชม: https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/deed.th