การพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของอัตลักษณ์และการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
DOI:
https://doi.org/10.61462/cujss.v48i2.753คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวตลาดน้ำ, การพัฒนาอย่างยั่งยืน, การมีส่วนร่วม, อัตลักษณ์บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์และความต้องการที่มีต่อตลาดน้ำดำเนินสะดวก รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวก ในการวิจัย ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกและจัดการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 20 คน ซึ่งเป็นคนในชุมชน ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ นอกจากนี้ได้สัมภาษณ์กับกลุ่มนักท่องเที่ยวโดยใช้การสุ่มแบบบังเอิญ จำนวน 32 คน และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสรุปประเด็นสำคัญ พบว่า อัตลักษณ์ของตลาดน้ำดำเนินสะดวกสามารถสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะที่มีการแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ยุคคือ 1) ชุมชนแห่งการสัญจรทางน้ำของเกษตรกรท้องถิ่น 2) ชุมชนตลาดน้ำแห่งการท่องเที่ยวตามวิถีชีวิตคนท้องถิ่น และ 3) ชุมชนตลาดน้ำแห่งการท่องเที่ยวที่เข้มข้น โดยความต้องการที่มีต่อตลาดน้ำดำเนินสะดวกมีความแตกต่างกันไปตามกลุ่มของบุคคล 3 กลุ่ม คือ นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ส่วนแนวทางการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการท่องเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวกสามารถดำเนินการได้ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
Downloads
References
Boonlert Jittungwattana, and Pensiri Srikampha. 2014. Kan Phatthana Kan Thongthiao Baep Yangyuen. [Sustainable Tourism Development]. 2nd ed. Nonthaburi: Thammasan. (in Thai)
Chulalongkorn University. Environmental Research Institute, and Bumi Kita Foundation. 2007. Kan Borihan Chatkan Thongthiao Yang Yangyuen Nai Prathet Thai: Withi Patibat Thi Di Samrap Thurakit Khanat Klang Lae Khanat Yom. [Sustainable Tourism Management in Thailand: A Good Practices Guide for SMEs]. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Chonthun Sangpoom, Dussadee Yoelao, Supavadee Mitrsomwang, and Wanwadee Neamsakul. 2013. “Kan Phatthana Chumchon Thongthiao Yang Yangyuen: Kansueksa Phuea Sang Thruesadi Chak Khomun Korani Chumchon Thongthiao Tam Naeothang Pratya Setthakit Phophiang.” [Development of Sustainable Tourism Community: A Study to Develop a Theory on the Philosophy of Sufficiency Economy of Tourism Community Base to]. Journal of Humanities and Social Sciences, Thaksin University 7(2): 175-193. (in Thai)
Jira Buathong. 2014. “Setthakit Kan Thongthiao.” [The Tourism Economy]. Tourism Journal 3(3): 26-39. (in Thai)
Mathukorn Thongsopa, Ekkaphong Sornthong, Weerawan Pinyarat, Pornpen Wongsuphachainimit, and Rapeeporn Meebundit. 2011. “Nairobroo”: Ratchaburi Nakhon Pathom. [“NaiRobRoo”: Ratchaburi, and Nakhon Pathom] Bangkok: Sarakadee Press. (in Thai)
Pimrawee Rocharungsat. 2010. Kanthongthiao Chumchon. [Community Tourism]. Bangkok: Odean Store. (in Thai)
Ratchaburi Provincial Office. Information and Communication Sector. 2014. Khomun Thuapai Changwat Ratchaburi. [General Information on Ratchaburi Province]. Ratchaburi: Ratchaburi Provincial Office. (in Thai)
-----. 2015. Khomun Thuapai Changwat Ratchaburi. [General Information on Ratchaburi Province]. Ratchaburi: Ratchaburi Provincial Office. (in Thai)
World Tourism Organization. 2016. Sustainable Cruise Tourism Development Strategies: Tackling the Challenges in Itinerary Design in South-East Asia. Madrid: World Tourism Organization.
World Travel and Tourism Council (WTTC). 2017. Travel and Tourism: Economic Impact 2017 Thailand. London: World Travel and Tourism Council.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เงื่อนไขการอนุญาตสาธารณะ
นโยบายลิขสิทธิ์และการอนุญาต
วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่เนื้อหาทั้งหมดภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 นานาชาติ (CC BY-NC-ND 4.0)
ลิขสิทธิ์
บทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนจะโอนสิทธิ์ทั้งหมดให้แก่วารสารเมื่อบทความได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์
สัญญาอนุญาต CC BY-NC-ND 4.0
ภายใต้สัญญาอนุญาตนี้:
-
แสดงที่มา (BY): ผู้ใช้ต้องแสดงที่มาโดยอ้างอิงถึงผู้เขียน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งให้ลิงก์ไปยังสัญญาอนุญาต และระบุหากมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้สามารถทำได้ในลักษณะที่สมเหตุสมผล แต่ต้องไม่ทำในลักษณะที่แสดงว่าผู้อนุญาตให้การรับรองผู้ใช้หรือการใช้งานดังกล่าว
-
ไม่ใช้เพื่อการค้า (NC): ผู้ใช้ไม่สามารถใช้เนื้อหาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า การใช้งานเชิงพาณิชย์จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าจากผู้เขียนและคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
ไม่ดัดแปลง (ND): หากผู้ใช้นำเนื้อหาไปรวม ดัดแปลง หรือต่อยอด ผู้ใช้ไม่สามารถเผยแพร่งานที่ดัดแปลงนั้นได้ การดัดแปลงผลงานจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าจากผู้เขียนและคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นโยบายการเข้าถึงแบบเปิด
วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้การเข้าถึงเนื้อหาแบบเปิดโดยทันทีตามหลักการที่ว่าการทำให้งานวิจัยสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีแก่สาธารณะจะสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ในระดับโลก ผู้ใช้สามารถอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก เผยแพร่ พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาฉบับเต็มของบทความได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้เขียน ทั้งนี้เป็นไปตามสัญญาอนุญาต CC BY-NC-ND 4.0
นโยบายการเก็บบันทึกด้วยตนเอง
ผู้เขียนสามารถเก็บบันทึกบทความฉบับตีพิมพ์สุดท้าย ต้นฉบับที่ส่ง (preprint) หรือฉบับที่ผ่านการประเมิน (postprint) ในคลังสถาบันหรือเว็บไซต์ส่วนตัวได้ โดยต้องมีการอ้างอิงการตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมระบุแหล่งอ้างอิงที่สมบูรณ์และลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของวารสาร
การขออนุญาต
สำหรับการใช้งานนอกเหนือจากที่ครอบคลุมโดยสัญญาอนุญาต CC BY-NC-ND 4.0 กรุณาติดต่อ:
กองบรรณาธิการ
วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: cusocscij@gmail.com
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 นานาชาติ กรุณาเยี่ยมชม: https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/deed.th