Journal Information
ปีที่ 47 ฉบับที่ 2 (2017): กรกฎาคม - ธันวาคม 2560
บทบรรณาธิการ
วารสารสังคมศาสตร์ฉบับนี้ ประกอบไปด้วยบทความที่อภิปรายถึงงานศึกษาด้านความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศในประเทศไทยหลายชิ้นด้วยกัน
กุลลนันทน์ คันธิก ได้ศึกษาถึงสถานะการศึกษานโยบายต่างประเทศไทย ที่ชี้ให้เห็นถึงช่องว่างที่เด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้กรอบการทำงานในแนวทางการรับรู้จากจิตวิทยาทางการเมือง รวมไปถึงการเสนอให้มีการขยายขอบฟ้าในการศึกษาการกำหนดนโยบายการต่างประเทศของไทยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ศิบดี นพประเสริฐ ศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงของนโยบายต่างประเทศของไทยระหว่างปี ค.ศ.1973- 1976 โดยศิบดีมีข้อถกเถียงสำคัญว่า “ปัจจัยภายนอก” โดยเฉพาะจากการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้นส่งผลอย่างสำคัญต่อการปรับความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศในภูมิภาคอินโดจีนให้เข้าสู่สภาวะปรกติ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ประเทศไทยเองเริ่มที่จะสร้างระยะห่างทางความสัมพันธ์กับ สหรัฐอเมริกาเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย โดยศิบดีเน้นถึงบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศของไทยในการริเริ่ม ความเปลี่ยนแปลงทางนโยบายต่างประเทศที่เกิดขึ้นนี้อีกด้วย
จิตติภัทร พูนขำ ได้นำเสนอประวัติศาสตร์ของสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในประเทศไทย โดยสังเขป โดยได้ชี้ให้เห็นถึงทางแพร่งทางทฤษฎีที่กำลังเผชิญหน้ากับสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของไทยอยู่ รวมไปถึงสำรวจข้อถกเถียงและความไม่ลงรอยครั้งสำคัญๆ ที่เกิดขึ้น อันนำมาสู่การกำหนดกรอบ “นิยาม” ของการสอนและการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ในท้ายที่สุดจิตภัทรได้เรียกร้องให้มีการเปิดพื้นที่สำหรับการสอนและการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในทิศทางที่พหุนิยมมากยิ่งขึ้น
กมล บุษบรรณ์ ศึกษาเปรียบเทียบและแสดงให้เห็นถึงความขัดกันของบทบาทขององค์กรสำคัญ ที่มี ส่วนรับผิดชอบในการดำเนินงานด้านนโยบายการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐเกาหลีกับประเทศ ไทยระหว่างปี ค.ศ.1960-1980 อันได้แก่องค์กรร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจของสาธารณรัฐเกาหลี และองค์กร ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย จากนั้นกมลก็อภิปรายถึงปัจจัยที่ทำให้องค์กรร่างแผน พัฒนาเศรษฐกิจของสาธารณรัฐเกาหลีสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากกว่าองค์กรทางฝั่งไทย ภายใต้กระแสของการเชิดชูคุณค่าของความอ่อนเยาว์และความกลัวต่อการสูงอายุในสังคมไทย
ภัทรพรรณ ทำดี กลับศึกษาถึงเงื่อนไขที่เอื้อต่อการส่งเสริมศักยภาพของผู้สูงวัย โดยกรณีศึกษาของภัทรพรรณนั้น อยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยเธอพบว่าสังคมที่พร้อมจะให้การช่วยเหลือ สนับสนุน และบทบรรณาธิการ มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน พร้อม ๆ ไปกับการให้ความเคารพต่อตัวตนและพร้อมจะเรียนรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุ เป็นเงื่อนไขสำคัญในการปลูกสร้างศักยภาพของผู้สูงวัย
เสฎฐวุฒิ ยุทธาวรกูล วิเคราะห์ว่ากองทัพพม่าหรือทัตมะด่อว์อาศัยชาตินิยมแบบพุทธและความหวาดกลัวอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภัยของชาวมุสลิมโรฮีนจาในการส่งเสริมความชอบธรรมทางการเมือง ของตนอย่างไร โดยทัตมะด่อว์ไม่ได้สร้างความชอบธรรมที่ว่านี้โดยอาศัยแต่เพียงอำนาจรัฐ หากแต่ยังได้รับการสนับสนุนจากภาคประชาสังคมกลุ่มต่างๆ ด้วย
ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย นำพาผู้อ่านไปร่วมตั้งข้อสังเกตกว้างๆ ถึงความแตกต่างทางการเมืองและปรัชญาของสลาวอย ชิเชค และเกรแฮม ฮาแมน บางทีวิธีการที่ดีที่สุดในการอ่านข้อถกเถียงระหว่างชิเชคและ ฮาร์แมนนั้น ถึงที่สุดแล้วอาจไม่ใช่การที่เราพยายามสมานความแตกต่างระหว่างทั้งคู่ หากแต่เป็นการกำหนดเขตแดนของประเด็นซึ่งทั้งสองเห็นต่างกันมากกว่า
ชิ้นสุดท้ายคืองานของชลธิศ ธีระฐิติ ที่ยืนยันว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่เพียงแสดงถึง ความสอดคล้องระหว่างศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์ แต่มันยังนำพาความสอดคล้องนี้ไปสู่ขั้นถัดไปของการมี ความหมายและการนำมาปฏิบัติได้จริงสำหรับทั้งปัจเจกและสังคมโดยภาพรวม
สรวิศ ชัยนาม